“ร้อยแก้วแนวต่างโลก” เปิดมุมมองใหม่จากเรื่องราวที่คุ้นเคย กับวรรณคดีไทยในธีมอิเซไก
เรื่องราวที่ได้รับความนิยมในหมู่นักอ่านมังงะและเว็บตูนในยุคนี้คงหนีไม่พ้น “วรรณกรรมแนวต่างโลก” หรืออิเซไก (Isekai) เรื่องราวของตัวเอกที่ถูกพาไปยังโลกที่ไม่คุ้นเคยหรือการเกิดใหม่ของร่างตัวละครอื่น ๆ โดยอาจดัดแปลงจากงานเขียนที่เราคุ้นเคยเพื่อสร้างเส้นเรื่องและมุมมองใหม่ ๆ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมมือกับคณะสถาปัตย์ลาดกระบัง จัดทำหนังสือภาพประกอบสำหรับเยาวชนขึ้นมา 2 เล่ม ได้แก่ เรื่อง “ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา ฉบับ ‘ร้อยแก้ว‘ (แนวต่างโลก)” เผยแพร่ในปี 2566 และ เรื่อง “พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร” เผยแพร่ในปี 2567 ปรับโครงเรื่องให้ร่วมสมัยด้วยการผสมผสานเรื่องราวในวรรณคดีไทยดั้งเดิมกับวรรณกรรมแนวต่างโลกและสื่อร่วมสมัย เพื่อให้วรรณคดีไทยเข้าถึงง่ายและดึงดูดนักอ่านรุ่นใหม่
ทั้ง 2 เรื่องได้ใช้เป็นบทเรียนในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยปรับเปลี่ยนการเล่าเรื่องแบบเดิม ๆ ให้มีความเกี่ยวข้องกับตัวอผู้อ่านและเข้าใจง่ายขึ้น กระตุ้นการอภิปราย รู้สึกว่าเรื่องราวเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับตนเองและเข้าใจง่ายขึ้น นักเรียนจะได้มีส่วนร่วมในการอภิปราย ตั้งคำถามกับบริบททางประวัติศาสตร์ และเชื่อมโยงกับประเด็นทางสังคมในปัจจุบันได้อีกด้วย ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาวัฒนธรรมและเนื้อเรื่องจากต้นฉบับเอาไว้
ชี้พิกัดสำหรับนักอ่านที่สนใจร้อยแก้วแนวต่างโลก
- ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา https://shorturl.at/jqyBN
หรือดาวน์โหลดฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาอังกฤษ (แปล) ได้ที่นี่ - พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร https://shorturl.at/Pn4zE
- ติดตามเรื่องอื่นๆ ได้ที่ Facebook Page: วรรณคดีมีชีวิต Revive Thai Literature
หรือ Youtube Channel: วรรณคดีมีชีวิต Revive Thai Literature
นอกจากนี้ ยังมีโครงการ Thaiฤทธิ์ เปิดโอกาสให้นิสิตได้สร้างสรรค์สื่อหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน เกม หรือคาแรกเตอร์ดีไซน์ที่ออกแบบมาจากวรรณคดีไทย อุดช่องว่างระหว่างวรรณคดีดั้งเดิมและสื่อสมัยใหม่ ซึ่งเป็นโครงการในวิชา “วรรณคดีไทยพื้นฐาน” ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จนได้พัฒนาต่อยอดมาเป็นวิชา “วรรณคดีไทยกับสื่อร่วมสมัย”