เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ข้ามทวีป “โอกาสการค้า เทรนด์ และความท้าทายเชิงมหภาคในตลาด EU” กับ DEK ธุรกิจระหว่างประเทศ SPU
จัดเต็ม!! สำหรับสาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธินี มงคล หัวหน้าสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ และ ดร.รุ่งธิวา วงศ์ประชา อาจารย์ประจำสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาธุรกิจระหว่างประเทศ SPU ด้วยการเรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง กับการเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษข้ามทวีป ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM หัวข้อ “โอกาสการค้า เทรนด์ และความท้าทายเชิงมหภาคในตลาด EU” โดยวิทยากรสุดพิเศษ คุณอรอนุช ผดุงวิถี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ให้เกียรติมาถ่ายทอดความรู้และแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยต้องตื่นตัว เมื่อเร็วๆนี้
ทางด้าน ดร.รุ่งธิวา วงศ์ประชา อาจารย์สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ กล่าวว่า สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ข้ามทวีปปผ่านระบบออนไลน์ ZOOM ในครั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษา ได้รับประสบการณ์การ การเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและการค้า การตลาดระหว่างประเทศ ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยต้องตื่นตัว หลากหลายหัวข้อ อาทิ
European Green Deal คณะกรรมการยุโรป ได้กำหนดแผนการปฏิบัติการจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ,CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) เป็นมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป สินค้า 5 กลุ่มแรก ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรั่วไหลของคาร์บอนสูง ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า ซีเมนต์ กระแสไฟฟ้า ปุ๋ย และอลูมิเนียม ,การสร้าง Branding สินค้า ท่านทูต ยกตัวอย่าง ข้าวหอมมะลิ ที่ท่านประสบความสำเร็จในการสร้าง Branding ต้องมี Story มีเรื่องราว ขายเป็น Emotional Marketing และหลังจากนั้นต้องมีการสื่อสาร การสื่อสารมีความสำคัญมาก ไม่แพ้ตัวสินค้า การสื่อสาร คือการเจาะตลาด เราจะสื่อสารออกไปอย่างไร ตั้งแต่เรื่อง packaging จะออกแบบมาอย่างไร website จะสื่อสารอย่างไร เพราะหากมีสินค้าดี แต่สื่อสารไม่ถูก ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ต้องมีการวิเคราะห์เทรนด์ และแนวโน้วพฤติกรรมของคนยุโรป ที่หันมาบริโภคอาหารมังสวิรัติมากขึ้น
ดร.รุ่งธิวา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์ตลาดแต่ละประเทศว่าเป็นอย่างไร อาทิ เช่น
ตลาดออสเตรีย เน้นดีไซน์ คุณภาพและเรื่องราว คือสิ่งที่ชาวออสเตรียใส่ใจเป็นอันดับแรก เวลาตัดสินใจซื้อของ (จากท่านทูตอรอนุช ผดุงวิถี ณ กรุงเวียนนา)
ตลาดเยอรมนี ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพ มาตรฐานสินค้า ฉลากสินค้าและเครื่องหมายรับรองต่างๆ สำคัญมาก บางเครื่องหมายบังคับใช้ บางเครื่องหมายช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าและความสามารถในการแข่งขัน (จากท่านทูต จีรนันท์ หิรัญญสัมฤทธิ์ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต)
ตลาดฝรั่งเศส ชาวฝรั่งเศสมีการบริโภคอย่างรับผิดชอบ ทำให้สินค้าแฟชั่นเพื่อความยั่งยืน ได้รับความนิยมอย่างมาก (จากท่านทูตวรวุฒิ สมหวังประเสริฐ ณ กรุงปารีส)
ตลาดอังกฤษ คนอังกฤษให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จึงทำให้หันมาบริโภคอาหารมังสวิรัติ หรือ Vegan มากขึ้น (จากท่านทูตประคัลร์ กอดำรงค์ ณ กรุงลอนดอน)
ตลาดสเปน สินค้าที่จะเข้ามาเจาะตลาดสเปนต้องมีคุณภาพดี ราคาเหมาะสม บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและได้มาตรฐาน ตามที่คณะกรรมาธิการยุโรปและสเปนกำหนด (จากท่านทูตวิชาดา ภาบรรเจิดกิจ ณ กรุงมาดริด)
ที่มา: มหาวิทยาลัยศรีปทุม