ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแถลงข่าวดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประจำเดือนมกราคม 2565

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแถลงข่าวดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประจำเดือนมกราคม 2565

รศ.ดร.ธนวรรธน์  พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ผศ.วชิร  คูณทวีเทพ ผอ.สถาบันยุทธศาสตร์การค้า  และ อาจารย์วทิตร  รักษ์ธรรม  ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย  ร่วมแถลงข่าว ผลสำรวจ  ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประจำเดือนมกราคม 2565 อยู่ที่ระดับ 44.8 ลดลงจากเดือนธันวาคม 2564 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 46.2 ซึ่งเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ 38.7 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำ อยู่ที่ 41.4 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 54.4สำหรับปัจจัยลบที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมกราคม ลดลง ได้แก่ ความกังวลต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งกระทบต่อการดำเนินชีวิต การทำธุรกิจ ตลอดจนการท่องเที่ยว อีกทั้งศูนย์บริหารสถานการร์โควิด-19 (ศบค.) ยังยกเลิกระบบ Test&Go เป็นการชั่วคราว ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคยังรู้สึกว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลงตลอดจนปัญหาค่าครองชีพ ราคาสินค้าที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งราคาน้ำมันในประเทศปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความกังวต่อเสถียรภาพทางการเมืองและสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ และเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นส่วนปัจจัยบวก ได้แก่ การที่กระทรวงการคลังปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2564 ขยายตัว 1.2% เพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดไว้ 1.0% และคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวที่ระดับ 4% ขณะที่ภาครัฐดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจใน 7 มาตรการ การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดของทั้งโลกที่เป็นรูปธรรมเพิ่มมากขึ้น การส่งออกของไทยในเดือนธันวาคม 2564 ขยายตัว 24.18% ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 17% และราคาพืชผลเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ทำให้รายได้เกษตรกร และกำลังซื้อในต่างจังหวัดเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ