ม.พะเยา สร้างความร่วมมือเครือข่ายระดับชุมชน อนุรักษ์นกยูงไทย สู่มรดกแห่งอาเซียน

ม.พะเยา สร้างความร่วมมือเครือข่ายระดับชุมชน อนุรักษ์นกยูงไทย สู่มรดกแห่งอาเซียน

วันพุธที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๔ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ เป็นประธานเปิดในกิจกรรมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ธุรกิจ นวัตกรรม เศรษฐกิจโดยใช้นกยูงเป็นสื่อกลางเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชาติพันธุ์ไทบนเส้นทางล้านนาล้านช้าง และจีนตอนใต้ (BRI) (พลิกโฉมเศรษฐกิจนวัตกรรม สร้างสรรค์แห่งดินแดนอุษาคเนย์ และการสร้างเครือข่ายอนุรักษ์นกยูงบนฐานมรดกชาติพันธุ์ไท)(Reinventing of creative innovation economy in SE Asia and Green peafowl conservation network based on Tai Ethnic heritage community) ณ ห้องประชุมเมืองพะเยา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

การประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมแบบระบบไฮบริด (Hybrid meeting) ที่มีการเชื่อมโยงไปยังห้องประชุมอีก ๗ แห่ง คือ ห้องประชุม อบต.ห้วยยางขาม, ห้องประชุม เทศบาลตำบลบ้านถ้ำ, โรงแรม M๒, โรงแรม D Hotel, ห้องประชุม อบต.แม่นาเรือ , ห้องประชุม วัดกู่ผาลาง อ.จุน จ.พะเยา, ห้องประชุมโรงแรม km รวมทั้งเปิดลงทะเบียนให้ผู้สนใจร่วมประชุมทางออนไลน์ โดยมีการเสวนาเชิงวิชาการในหัวข้อ “พลังแห่งเครือข่ายความร่วมมืออนุรักษ์นกยูงไทยสู่มรดกแห่งอาเซียน” เป็นการนำเสนอในมิติธรรมชาติ ถิ่นที่อยู่อาศัย DNA สู่การเชื่อมโยงความสำคัญของผืนป่า และวิถีชุมชนสู่การยกระดับความสำคัญในระดับสากล

จากนั้น เป็นการบรรยายพิเศษ การอนุรักษ์นกยูงไทย สู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรฐกิจบนเส้นทาง BRI ซึ่งได้รับเกียรติจากนายสุทธิพงศ์ สุริยะ (อาจารย์ขาบ) ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่สากล “Local สู่เลอค่า” บรรยายให้ความรู้และแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนกยูง

โดยกิจกรรมในช่วงบ่าย มีการปาฐกถาธรรมพิเศษโดย พระอาจารย์มหาวุฒิชัย ว วชิรเมธี ในหัวข้อ “จดหมายจากนกยูงไทย สู่การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในอุษาคเณย์” การเสวนา การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมบนความศรัทธาในนกยูงร่วมกันแห่งชาติพันธุ์ไท (วัฒนธรรมนำการค้า) โดยวิทยากรรับเชิญพิเศษเครือข่ายนกยูงจาก สมาคมไทลื้อ พะเยา และวิทยากรจากนานาชาติ ประกอบไปด้วย เครือข่ายรักษ์นกยูงฯไทเหนือ(ไทใต้คง) ประเทศจีน นายกสมาคมธุรกิจการค้าระหว่างประเทศเมืองเต๋อหง ประเทศจีน เครือข่ายนิตยสารแม่น้ำโขง ผู้แทนนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ สปป.ลาว ผู้แทนภาคเอกชน ประเทศเวียดนาม ผู้บริหารสถาบันการโรงแรมบาหลี (STP Nusa Dua Bali) ผู้แทนนักวิจัยอิสระ ประเทศนปาล รวมทั้ง ผู้นำเครือข่ายชุมชนรักษ์นกยูงไทยล้านนาทุกชุมชน

ที่มา: มหาวิทยาลัยพะเยา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ