ม.พะเยา จัดการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ ๑๔ บทบาทมหาวิทยาลัยกับการพัฒนานักจัดการเชิงพื้นที่
มหาวิทยาลัยพะเยา จัดการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 14 หัวข้อ บทบาทมหาวิทยาลัยกับการพัฒนานักจัดการเชิงพื้นที่ “University role for Area Manager Development” เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายระดับชาติ ในการพัฒนาศักยภาพของสถาบันการศึกษาของไทย โดยการสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่การนำองค์ความรู้ไปใช้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมเพื่อขับเคลื่อนประเทศ ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 24 มกราคม 2568 ณ อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) มหาวิทยาลัยพะเยา
วันที่ 23 มกราคม 2568 เวลา 13.30 น. อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ กล่าวรายงาน วัตถุประสงค์ของการจัดงาน และได้รับเกียรติจาก นายกสภามหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์พิเศษอรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานกล่าวเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 14 โดยการจัดงานในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีสำหรับคณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ในการนำเสนอผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่ทันสมัยโดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการนำผลงานวิจัย นำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในทางสังคม สิ่งแวดล้อม ให้เกิดความยั่งยืน และเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ ในการแข่งขันกับนานาอารยประเทศ และสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นำไปสู่การนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมเพื่อขับเคลื่อนประเ
ในปีนี้มหาวิทยาลัยได้มีการจัดรูปแบบการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการฯ ให้เป็นลักษณะ Hybrid โดยมีทั้งการนำเสนอแบบ Onsite Conference ณ มหาวิทยาลัยพะเยา และ Online Conference มีผู้สนใจเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 154 ผลงาน ประกอบด้วยกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 25 ผลงาน กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวน 72 ผลงาน กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 57 ผลงานและการประชุมวิชาการในครั้งนี้ยังมีกิจกรรมที่หลากหลาย ประกอบด้วย นิทรรศการจากมหาวิทยาลัยพะเยา และหน่วยงานร่วมจัด กิจกรรมประกวดนิทรรศการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม กิจกรรมแสดงผลงาน “พะเยา : ชุมชนต้นแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Phayao: Community Innovation for Sustainable Development Goals)” และกิจกรรม “การประกวดผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่มีความโดดเด่น ประจำปี 2567” โดยได้จัดให้มีการมอบรางวัลให้กับนักวิจัยแบ่งเป็น 4 รางวัล
รางวัลนักวิจัยดีเด่นมหาวิทยาลัยพะเยาที่มีผลงานการตีพิมพ์สูงสุด ปี พ.ศ. 2566 ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มสาขา ประกอบด้วย
- กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพอันดับ 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนีพร กงซุย สาขาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์อันดับ 2รองศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ เสาแก้ว สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์อันดับ 3ดร.ธิชานนท์ พรหมศรีสุข สาขาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์อันดับ 4ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศราวุฒิ แสงคำ สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสร์อันดับ 5นายแพทย์ วงษ์ธวัชร์ เหลี่ยวรุ่งเรือง สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์
- กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันดับ 1 รองศาสตราจารย์ ดร.อัยเรศ เอี่ยมพันธ์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์อันดับ 2ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิติ เกตุคำ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์อันดับ 3รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรมงคล สุวรรณภูมิ สาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการประมง คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติอันดับ 4รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ช่อลำ เจียก สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์อันดับ 5 รองศาสตราจารย์ ดร.สาคร เมฆรักษาวนิช สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- กลุ่มมนุษยศาสาตร์และสังคมศาสตร์ อันดับ 1 ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ อันดับ 2รองศาสตราจารย์ ดร.ลือชา ลดาชาติ สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยการศึกษาอันดับ 3 ดร.นิรมล พรมนิล สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์อันดับ 4ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรินธน์ นนทมาลย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา วิทยาลัยการศึกษาอันดับ 5ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา วิทยาลัยการศึกษารางวัลนักวิจัยที่สร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือสร้างประโยชน์เชิงชุมชน
ประเภทผลงานการวิจัยที่สร้างประโยชน์เชิงชุมชนรางวัลดีเด่น
รองศาสตราจารย์ ดร.พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา สาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติด้วยผลงาน : การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำ หรับยกระดับกลไกการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของการผลิตและการตลาดสัตว์เคี้ยวเอื้องร่วมกับเครือข่ายนวัตกรรมชุมชนรางวัลดีมาก- ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ด้วยผลงาน : การขยายผลการจัดการกลุ่มผ้าทอสีย้อมผ้าแม่อิงชิโบริสู่ความยั่งยืน- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพารัตน์ โพธิเศษ สาขาความปลอดภัยทางอาหาร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติด้วยผลงาน : การขยายผลวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำ หรับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของเครือข่ายเกษตรกรในสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพะเยา- ดร.จารุวรรณ โปษยานนท์ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ด้วยผลงาน : การวิจัยเพื่อพัฒนาฝ้ายท้องถิ่นภาคเหนือด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานวัฒนธรรมชุมชนประเภทผลงานการวิจัยที่สรร้างประโยชน์เชิชิงพาณิชย์รางวัลชมเชย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาลีรักษ์ อัตต์สินทอง วิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ด้วยผลงาน : ตำ รับยาทำ ให้อดฝิ่น (ยาอดยาบ้า) ชนิดเม็ด/เม็ดฟู่รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยดีเด่นในภาค Oral Presentation และ Poster Presentation