เยาวชนอาเซียนโชว์ศักยภาพ ร่วมแข่งขันวิเคราะห์ข้อมูลระดับภูมิภาคในการแข่งขัน ASEAN Data Science Explorers 2024
มูลนิธิอาเซียน ภายใต้ความร่วมมือของ SAP และมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สรุปผลการแข่งขันวิเคราะห์ข้อมูลอาเซียน 2024 (ASEAN Data Science Explorer 2024 ) ครั้งที่ 8 รอบชิงชนะเลิศ ที่นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยมีนักเรียน 20 คนจากสถาบันในระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา จาก 10 ประเทศเข้าร่วม ซึ่งผู้เข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าวได้นำเสนอแนวทางในการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและนวัตกรรม mobile apps เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค
ในการแข่งขันนี้ ทีม aSAP จากประเทศเวียดนามได้รับรางวัลชนะเลิศระดับภูมิภาคจากงาน ASEAN DSE 2024 ซึ่งนำเสนอ นวัตกรรมการแก้ไขปัญหาโดยการนำประโยชน์จากการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างการเป็นกรดของมหาสมุทรและความไม่มั่นคงด้านพลังงาน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสีน้ำเงินที่ยั่งยืนผ่านแอปพลิเคชันมือถือที่เรียกว่า “CarbonWave” นาย Le Trung Kien และ Cao Van Truong หัวหน้าทีมและสมาชิก ASAP จากเวียดนามกล่าวว่า “พวกเราทีม aSAP รู้สึกตื่นเต้นอย่างยิ่งที่ได้รับการประกาศให้เป็นแชมป์ของ ASEAN Data Science Explorers 2024! ความท้าทายและคำแนะนำที่เราได้รับจาก ADSE ได้ช่วยพัฒนาทักษะและจุดประกายความสนใจในในด้านการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven) ทักษะเหล่านี้ไม่เพียงแต่เตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราพร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในชุมชนของเรา”
ผู้เข้าร่วมได้แสดงความสามารถในการใช้ข้อมูลและพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือสำหรับการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญทั่วอาเซียน ผ่านการใช้ SAP Analytics Cloud และ SAP Build Apps โดยมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 6 ประการ ได้แก่ การยุติความหิวโหย (Zero Hunger) การมีสุขภาวะที่ดี (Good Health and Being) การสร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาล (Clean Water and Sanitation) เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) (SDG 11) การบริโภคและการผลิตที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Consumption and Production) และ การต่อสู้กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง (Climate Action)
ทักษะการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-driven) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแรงงานในอนาคตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของวิทยาการข้อมูลทั่วโลก ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตจาก 95.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021 เป็น 322.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2026 อย่างไรก็ตาม เยาวชนอาเซียนถึง 72.2% ไม่ได้มีทักษะในด้านดิจิทัลขั้นสูงหรือเพียงมีความสามารถด้านดิจิทัลในระดับพื้นฐานเท่านั้น ซึ่งโครงการอาเซียน DSE มีเป้าหมายที่จะลดช่องว่างนี้โดยจัดเตรียมทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นให้กับผู้เข้าร่วม เพื่อให้แน่ใจว่าเยาวชนอาเซียน จะมีทักษะพร้อมที่จะแข่งขันได้ในตลาดงานที่กำลังพัฒนา
โดยในปีนี้ ประเทศไทยได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จากการแข่งขันการวิเคราะห์ข้อมูล อาเซียน 2024 (ASEAN DSE) ด้วยโครงการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดย Napatcha Kaekummnero และ Phakawan Suthisophon จากโรงเรียนมาร์แตเดอี กรุงเทพฯ ในการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือ เพื่อเฝ้าระวังหมอกควันที่เกิดจากการถางและการเผา โดยให้บริการด้านเครื่องมือการเฝ้าระวัง และให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเพื่อเกษตรกร ซึ่งเป็นแนวทางด้านนวัตกรรมที่สร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่ออากาศบริสุทธิ์ สู่อนาคตที่ยั่งยืนสำหรับประชาคมอาเซียน
ทั้งนี้ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ระดับภูมิภาคปี 2024 ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลลาว ในฐานะการเป็นประธานอาเซียนปี 2024 ซึ่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านดิจิทัลและความพร้อมของเยาวชนอาเซียนสู่การพัฒนาในภูมิภาคอย่างยั่งยืน
นายแพทย์สุริโอวดง สุนทรา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและการกีฬา สปป. ลาวกล่าวว่า “โครงการแข่งขันวิเคราะห์ข้อมูลอาเซียน 2024 เป็นแบบอย่างที่สำคัญในการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระดับภูมิภาค ที่จะสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมและสร้างทักษะที่สำคัญในอนาคตให้กับเยาวชนอาเซียน โดยตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา โครงการนี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความรู้ด้านดิจิทัลใน สปป. ลาวครอบคลุมไปถึงนักเรียนกว่า 4000 คน และบุคลากรทางการศึกษากว่า 70 คน ผ่านการดำเนินการตามเป้าหมายการศึกษาระดับชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในแผนพัฒนาการศึกษาและการกีฬา ในปี คศ. 2021-2025 ของ สปป.ลาว ด้วยความคิดริเริ่มนี้จึงจะต้องมีจัดเตรียมเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโตของแรงงานสมัยใหม่และเป็น ส่วนหนึ่งในการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาค ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีการสานต่อความร่วมมือนี้ต่อไปอย่างที่ได้มีการเตรียมความพร้อมให้เยาวชนอาเซียน เพื่อต่อยอดไปสู่การเชื่อมโยงกันทางดิจิทัลในอนาคตที่เชื่อมโยงกันทางดิจิทัลอย่างเจริญรุ่งเรือง”
จากนั้น ดร. ปิติ ศรีแสงนาม กรรมการบริหารมูลนิธิอาเซียน ได้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของโครงการ “แข่งขันวิเคราะห์ข้อมูลอาเซียน 2024″ เป็นกุญแจสำคัญในการส่งเสริมทักษะของเยาวชนทั่วทั้งภูมิภาค โดยการจัดหาเครื่องมือและทักษะด้านข้อมูลดิจิทัลที่มีความต้องการ ทำให้เยาวชนอาเซียนสามารถคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ทางออกของปัญหาได้ในชีวิตจริง ซึ่งจะส่งเสริมการเติบโตของเยาวชนอาเซียนและการพัฒนาของอาเซียนโดยรวม”
ในฐานะผู้นำองค์กรด้านแอปพลิเคชั่นและ AI ทางธุรกิจระดับโลก SAP มีความมุ่งมั่นในการเตรียมความพร้อมสำหรับคนรุ่นใหม่ ต่อความความยุ่งยากซับซ้อนของโลกที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยมุ่งเน้นไปที่ทักษะที่จำเป็นสามประการ ได้แก่ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ทักษะดิจิทัล และทักษะในศตวรรษที่ 21
เวรีน่า ซิว ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอพี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “จากความร่วมมือของ SAP กับมูลนิธิอาเซียน แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มขีดความสามารถให้กับเยาวชนทั่วทั้งภูมิภาค ในการเพิ่มศักยภาพผู้นำคนรุ่นใหม่ ด้วยทักษะที่จำเป็นต่อการเติบโตในโลกที่พัฒนาและขับเคลื่อนด้วยข้อมูลในปัจจุบัน ด้วยความคิดริเริ่มนี้ เราจึงช่วยส่งเสริมผู้มีความสามารถด้านเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่สามารถส่งผลไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และช่วยให้องค์กรในประเทศเหล่านี้เร่งให้เกิดการสร้างนวัตกรรม”
นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง โครงการ ASEAN DSE ในปี 2017 โครงการนี้ได้เสริมสร้างพลัง ให้แก่นักเรียน นักศึกษา อายุระหว่าง 15 ถึง 30 ปี กว่า 1 แสนคน ที่รวมไปถึงเยาวชนผู้ด้อยโอกาสให้ได้มีส่วนร่วม ซึ่งส่งผลให้กับบุคลากรด้านการศึกษา 3310 คน รวมไปถึงผู้หญิงกว่า 55% ที่ได้รับประโยชน์ จากการจัดหาบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความสามารถด้านดิจิทัล ซึ่งโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน 2021-2025, แผนงานอาเซียนด้านการศึกษา 2021-2025, แผนงานอาเซียนด้านดิจิทัล, แผนแม่บทอาเซียน 2025 และกรอบเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (DEFA) ซึ่งผลักดันการขับเคลื่อนด้านดิจิทัลสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอาเซียนและส่งเสริมการเติบโตทั่วทั้งภูมิภาค
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิอาเซียน
กว่าสามทศวรรษหลังจากได้มีการก่อตั้งอาเซียน ผู้นำอาเซียนได้ตระหนักว่า ความมั่งคั่งไปด้วยกันอาจยังไม่เพียงพอ หากแต่การสร้างความรับรู้และปฏิสัมพันธ์กันสำคัญยิ่งกว่า ด้วยความกังวลดังกล่าว ผู้นำอาเซียนจึงได้ก่อตั้งมูลนิธิอาเซียนขึ้นในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครบรอบ 30 ปี ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 โดยมูลนิธิอาเซียนนั้น เป็นองค์กรจากอาเซียน เพื่อประชาชนในอาเซียน มูลนิธิฯ ตั้งขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์หนึ่ง นั่นก็คือ เพื่อสร้างประชาคมอาเซียนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเจริญรุ่งเรือง ในฐานะสมาชิกของอาเซียน มูลนิธิฯ ได้รับมอบหมายให้สนับสนุนอาเซียนในการส่งเสริมการรับรู้ อัตลักษณ์ การมีปฏิสัมพันธ์ และการพัฒนาประชาชนอาเซียน