สกสว. ผนึก 22 ภาคีเครือข่ายการศึกษาส่งต่อข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่ รมว. ศธ. หนุนใช้วิจัยเชิงระบบสมาน 4 รอยต่อการศึกษาไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ร่วมรับฟังข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจาก 22 ภาคีเครือข่ายด้านการศึกษา ผ่านการจัดงาน TEP Forum 2024 “สร้างประเทศไทยเป็นสังคมการเรียนรู้: เรียนรู้สู่สมรรถนะอย่างไร้รอยต่อ” โดยมี พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน และรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อเร่งสมานรอยต่อการศึกษาไทย
รองศาสตราจารย์ ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า ที่ผ่านมางบประมาณสนับสนุนในเรื่องของการศึกษา ส่วนมากลงไปอยู่ระดับในห้องเรียน สิ่งที่ขาดคือ งานวิจัยเชิงระบบ ที่จะเป็นรากฐานสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการศึกษาของไทย โดย สกสว. มีเป้าหมายสร้างความรู้เชิงระบบโดยผ่านการดำเนินการของคณะทำงานบูรณาการประเด็นยุทธศาสตร์ ววน. ด้านการศึกษาและการเรียนรู้ (Strategic Agenda Team: SAT การศึกษาและการเรียนรู้) เพื่อช่วย สกสว. กำหนดแผนและแนวทางในการใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ของประเทศ ในการดำเนินการที่ผ่านมาได้จัดเวที โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิและเครือข่ายทางการศึกษา คุณครู นักการเมือง ตลอดจนนักปฏิบัติการจริงมาช่วยกันคิด เพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการศึกษาไร้รอยต่อ
“รอยต่อหรืออุปสรรคสำหรับผู้เรียนในระบบการศึกษาและการเรียนรู้ ที่ควรได้รับการแก้ไขและเห็นภาพต่างๆ เหล่านี้ไปด้วยกัน ประกอบด้วย 4 รอยต่อ คือ 1. รอยต่อของในและนอกระบบ 2. รอยต่อของความหลากหลายของผู้เรียนที่อยู่ในทุกช่วงวัย 3. รอยต่อของศาสตร์ความรู้ และ 4. รอยต่อของผู้ที่เกี่ยวข้อง สู่การแก้ไขปัญหาควรเอาผู้เล่นเป็นตัวตั้ง ใน 3 กลุ่ม คือ
ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติ และกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง เนื่องจากสังคมคนรุ่นใหม่มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองควรสนับสนุนในการสร้าง mindset ให้สังคมไทย โดยต้องทำงานร่วมกันเป็นองคาพยพ ภาคนโยบายควรยอมรับให้เกิดการมีส่วนร่วม ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนเปิดพื้นที่ให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ พร้อมทั้งหนุนเสริมศักยภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีหน่วยที่จะประสานงานเพื่อลดรอยต่อ หาโมเดลในการขยายผลที่ดีที่เกิดจากการปฏิบัติจริง และพลังของเอกชนจะช่วยเสริมได้”
นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ในฐานะตัวแทนภาคีเครือข่ายการศึกษาไทย (Thailand Education Partnership: TEP) กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังติดกับดัก “คนไทยด้อยคุณภาพ” เนื่องมาจากระบบการศึกษาและการขาดความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามนโยบายที่ชัดเจน ดังนั้น TEP ภาคเครือข่ายเพื่อการศึกษาไทยจึงได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสังเคราะห์ประเด็นสำคัญเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการจัดการศึกษา และมุ่งสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างสมรรถนะอย่างไร้รอยต่อ ประกอบด้วย 6 เครือข่าย คือ ระบบผลิตและพัฒนาครู ปฐมวัยและผู้ปกครอง เด็กและเยาวชน ระบบโรงเรียน พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา/พื้นที่ และแพลตฟอร์มการเรียนรู้ โดยมีผลสรุปและข้อเสนอจาก 6 เครือข่ายหลักต่อกระทรวงศึกษาธิการดังต่อไปนี้
- สมรรถนะ (Competency: C) การเรียนรู้ที่เน้นการประยุกต์ใช้ ความรู้ เจตคติ และคุณค่าในชีวิตจริง
- 1.1 สร้างเป้าหมายใหม่ของการพัฒนาคนไทยให้เกิดสมรรถนะในทุกระดับการศึกษา เช่น การจัดการตนเอง การคิด
ขั้นสูง การสื่อสาร การรวมพลังทำงานเป็นทีม การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน เพื่อให้ได้ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้อย่างยั่งยืน - 1.2 ขยายผลลัพธ์ความสำเร็จของโรงเรียนที่พัฒนาสมรรถนะผู้เรียนอย่างเป็นองค์รวมด้วยการใช้หลักสูตรและการจัดโอกาสการเรียนรู้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งในและนอกพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Sandbox)
- 1.3 ส่งเสริมให้สังคม ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในภาคการศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจหลักคิด ตลอดจนแนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นสมรรถนะเป็นสำคัญ
- 1.1 สร้างเป้าหมายใหม่ของการพัฒนาคนไทยให้เกิดสมรรถนะในทุกระดับการศึกษา เช่น การจัดการตนเอง การคิด
- การเรียนรู้อย่างไร้รอยต่อ (Seamless Learning: SL) การศึกษาที่เชื่อมโยงต่อเนื่อง ผสานกันในทุกระดับและ
ทุกระบบการศึกษา ที่เปิดโอกาสการเรียนรู้ให้กับความสนใจรายบุคคลและผู้ด้อยโอกาส- 2.1 เน้น คุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยที่เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการศึกษาทุกระดับ
- 2.2 ยกระดับการใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- 2.3 เสริมสมรรถนะคนไทยทุกคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต ด้วยระบบธนาคาร
หน่วยกิต (Credit Bank System) โดยมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของผู้เรียนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการศึกษาอย่างต่อเนื่องและไร้รอยต่อ - 2.4 สร้างความเสมอภาคทางการศึกษาแบบเชิงรุกเข้าถึงกลุ่มผู้เรียนเปราะบางและด้อยโอกาสทุกประเภท
- การบริหารจัดการ (Management)
- 3.1 ลดการรวมศูนย์ เปลี่ยนจากการเน้นการจัดการ เป็นการกำหนดทิศทาง (นโยบาย) สู่การสนับสนุนหนุนเสริมและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแนวราบ (Horizontal)
- 3.2 เร่งระบบการบริหารจัดการวิชาการเชิงรุกในระดับจังหวัดที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน รวมถึงกลไกโค้ชเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาที่มุ่งสร้างสมรรถนะในทุกระดับ
- 3.3 เพิ่มบทบาทการจัดการด้วยตนเอง ของสถานศึกษาและชุมชน เพื่อสร้างสมรรถนะผู้เรียนในทุกระดับ
- 3.4 เปลี่ยนระบบการผลิตและพัฒนาครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งสู่สมรรถนะผู้เรียนในทุกระดับ โดยเน้นบทบาทของท้องถิ่น “ผลิตโดยท้องถิ่น เพื่อท้องถิ่น”
ทั้งนี้ สกสว. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พลังของคนที่มาร่วมตัวกันในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่ภาคีเครือข่ายจะร่วมกันพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ด้วยความเสมอภาคมุ่งสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างสมรรถนะให้แก่คนทุกคนอย่างไร้รอยต่ออย่างแท้จริง