โดรนไทย ปรับแผนสร้างฐาน กระจายความรู้สู่ชุมชน รับงานทั่วประเทศ
นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ นำทีมหนูน้อยจ้าวเวหา ไทยพีบีเอส นายธีรวัติ ศรีประโชติ, นายพร้อมพงษ์ ลิ้มสกุล และ นายอานันท์ ไกรศักดาวัฒน์ ร่วมระดมสมอง พัฒนาเทคโนโลยีได้เท่าเทียมกับนานาชาติ โดยท่านนายกสมาคมฯ ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เผยแพร่ความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรม โดรนแปรอักษร ให้กับเยาวชนทั่วประเทศ และนำไปแสดงตามจังหวัดต่าง ๆ โดยการแสดงแต่ละครั้ง เป็นที่ชื่นชอบของคุณดู สร้างความตื่นตาจิตใจแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันมีคนไทยที่นำโดรนแปรอักษร นำเข้ามาจากต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 4-5 ราย แต่สิ่งที่แตกต่างกัน ก็คือเรื่องของสีของโดรนแปรอักษร โดยของไทยมีจุดอ่อนตรงที่ 400 กว่า จึงต้องพัฒนาเรื่องนี้เป็นหลัก ซึ่งขณะนี้การพัฒนาประสบความสำเร็จเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งการพัฒนาเรื่องของความเร็วในการ Connection ระหว่างภาคพื้นดินกับโดรนบนอากาศ รวมทั้งซอฟต์แวร์ให้เร็วขึ้นในระบบสมอง ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้ ปักหลักกันที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จนประสบความสำเร็จ เทียบกับโดรนจากต่างประเทศ ที่คนไทยนำเข้ามา และสมาคมฯ มีเป้าหมาย ที่จะเดินทางไปมอบความสุขให้คนไทยทั่วประเทศต่อไป
“เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ทำให้เกิดเยาวชนหรือคนไทย ที่ชื่นชอบในการประดิษฐ์อากาศยานไร้คนขับ เข้ามาช่วยกัน อาจก่อให้เกิดอาชีพในอนาคตได้ โดยเฉพาะคนไทย มีโอกาสได้ไปต่างประเทศ หรือเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับประเทศชาติ เพราะเทคโนโลยีและอากาศยานไร้คนขับในอนาคต จะมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น สมาคมฯ นำโดรนไปบินแต่ละจังหวัด โดยเฉพาะการแสดงโชว์แต่ละครั้ง ได้รับเสียงตอบรับมาอย่างดี ซึ่งสิ่งที่สมาคมฯ จะเลือกไปในจังหวัดรองนะครับ แล้วก็ไปแสดงโชว์ตามงานนิทรรศการต่าง ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นที่ประทับใจของชาวไทยเรานะครับ โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยเห็น พอเห็นแล้วก็รู้สึกดีนะครับ ณ วันนี้ ทีมงานสมาคมฯ ได้ยกกันมาที่ ต.หนองสาหร่าย เพื่อปรับปรุงเรื่องของความเร็ว เรื่องของการที่จะสั่งให้โดรนขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ทันใจและรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้เด็ก ๆ ทีมหนูน้อยจ้าวเวหา เขาสามารถพัฒนากันได้ครับผม” นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวเปิดเผย
สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ นอกจากการนำโดรน ไปบินแต่ละจังหวัด ที่ให้เกิดอาชีพในประเทศ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับประเทศชาติ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ประเทศไทยโดยตรงแล้ว ยังได้การสนับสนุนจาก วช. จัดโครงการ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดรน” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเกี่ยวกับ “โดรน” (Drone) ให้บุคลากร ตลอดทั้งเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอดประยุกต์ใช้กับการทำงานเพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต
ล่าสุดได้ร่วมมือกับ สมาคมเยาวชนนักประดิษฐ์ (ประเทศไทย) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดกิจกรรมอบรมบ่มเพาะนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ ในหัวข้อ “โดรนอัจฉริยะ” (Sky Innovator : Coding for Drone Mastery) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมโดรน และเพิ่มทักษะความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของเยาวชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มทักษะในการคิดและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และเพื่อเตรียมความพร้อมนักกีฬาในการแข่งขันเครื่องบิน (Aviation Mastery) ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเดือนกรกฏาคม โดยกำหนดจัดอบรมไปเมื่อวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2567 ณ ศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน (อาคาร ๗) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดศูนย์ให้ความรู้เกี่ยวกับ UAV อากาศยานไร้คนขับ ที่ วช 7 ในสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ทำเนียบแสดงผลงานในระดับนานาชาติ ผลงานวิจัยร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ประเทศญี่ปุ่น รางวัล – Gold MEDAL
ฮ่องกง รางวัล – Gold Medal
โปแลนด์ รางวัล – Gold Medal
อินโดนีเซีย รางวัล – Gold MEDAL – Special Award จากหน่วยงาน ROMANIAN INVENTORS FORUM
ไต้หวัน รางวัล – Bronze MEDAL Award – Special Prize จากหน่วยงาน Korea Invention Promotion Association
เกาหลีไต้ รางวัล – Gold Prize – Special Award จากหน่วยงาน Malaysian Association of Research Scientists
ประเทศจีน รางวัล – Gold MEDAL – WIIPA SPECIAL AWARD
สิงคโปร์ รางวัล – Gold MEDAL – Innovation Award Winner
สำหรับผู้ที่สนใจต้องการให้ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ นำโดรนแปรอักษร ไปโชว์ หรือทำกิจกรรมร่วมกับจังหวัดท่าน สามารถติดต่อได้ที่ http://www.rcsayoungpilot.com/ หรือ https://www.facebook.com/rcsayoungpilot หรือ ติดต่อ อ.พิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล โทร. 096-168-2586