ม.พะเยา ติดอันดับที่ 17 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับของ “Webometrics Ranking of World Universities”
ม.พะเยา ติดอันดับที่ 17 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับของ “Webometrics Ranking of World Universities”
ในปัจจุบันเว็บไซต์ทางการศึกษา ได้แก่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยทั่วโลกได้ถูกจัดอันดับในด้านการเผยแพร่ องค์ความรู้อย่างเปิดกว้างและเสรี (open access) ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เวิลด์ไวด์เว็บ(world wide web) เริ่มการจัดอันดับครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ.2004) โดยสถาบันวิจัย Higher Council for Scientific Research (CSIC) ประเทศสเปนโดยมีวัตถุประสงค์ในการแสดงความสามารถของมหาวิทยาลัย ที่ถูกจัดอันดับในการเผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้ของสถาบันอย่างเปิดกว้างและเสรี โดยปัจจุบันใช้ตัวชี้วัดเพื่อการจัดอันดับจำนวน 3 ตัวชีวัด ได้แก่
- การเข้าถึงเชื่อมโยงจากเครือข่ายและเว็บไซต์อื่นมายังเว็บไซต์มายังเว็บไซต์ของสถาบัน(Impact)
- การอ้างอิงผลงานทางวิชาการบน Google Scholar (Openness)
- จำนวนผลงานวิชาการที่ถูกอ้างอิงในฐานข้อมูลงานวิจัย Scimago (Excellence)
โดยตัวชี้วัดแต่ละตัวจะมีกระบวนการจัดเก็บข้อมูลกระบวนการประมวลผลคะแนนและน้ำหนักคะแนนที่ไม่เท่ากัน ซึ่งการทำงานของเว็บโอเมทริกซ์จะอาศัยซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อใช้ในการประมวลผลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ ฐานข้อมูลงานวิจัย ผลงานตีพิมพ์ ผ่านทาง Google Search, GoogleScholar, และ Scimago แล้วนำผลที่ได้มาใช้คำนวณจัดอันดับเว็บไซต์ ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก
ในปัจจุบันมีจำนวนมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่ได้รับการจัดอันดับแล้วเป็น จำนวนทั้งสิ้น 11,991 มหาวิทยาลัย และมีมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น 192 มหาวิทยาลัย
ผลการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยพะเยา รอบที่ 1 เดือน มกราคม 2567 จากทั้งหมดจำนวนปีละ 2 รอบ ในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้อันดับ ดังนี้
- อันดับที่ 17 ของประเทศไทย
- อันดับที่ 65 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- อันดับที่ 617 ของเอเชีย
- อันดับที่ 1824 ของโลก
เกณฑ์การประเมินใหม่ของ Webometrics (First edition of 2023)
- 1. VISIBILITY (or IMPACT) ปริมาณการอ้างอิงข้อมูล จำนวนของเครือข่ายภายนอก (subnets) ที่มีการเชื่อมโยงกลับมายังเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะพิจารณาจากค่าสูงสุดจากแหล่งข้อมูล 2 แหล่ง (Ahrefs และ Majestic) น้ำหนัก 50%
- TRANSPARENCY (or OPENNESS) จำนวนการอ้างอิงจากผู้แต่ง 310 อันดับแรก(ไม่รวมค่าผิดปกติ 20 อันดับแรก)
- EXCELLENCE(or SCHOLAR) จำนวนของบทความที่มีการอ้างถึงสูงสุด 10% แรก ใน 27 สาขาวิชา โดยพิจารณาจากระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง (ค.ศ. 2018-2022) หรือ (พ.ศ. 2561-2565)