ผลงานนวัตกรรม สุดทึ่งของเยาวชนไทย กับโครงการ ACC GO GREEN SEASON 2

ผลงานนวัตกรรม สุดทึ่งของเยาวชนไทย กับโครงการ ACC GO GREEN SEASON 2

เปิดความสามารถเยาวชนบนเวทีประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ภายใต้แนวคิด พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โครงการ ACC GO GREEN SEASON 2 ปี 2566  ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 53,000 บาท

เร็วๆนี้บริษัท เอเชี่ยน เคมิคัล จำกัด (ACC) ก่อตั้งเมื่อปี 1976 จนถึงปัจจุบัน กว่า 47 ปี  เราคือผู้นำธุรกิจในกลุ่มอุตสหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นโรงงานผู้ผลิตและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ (คอปเปอร์ซัลเฟต) ที่ใช้ในกลุ่มของแร่ธาตุอาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์สารเคมีบำบัดน้ำเสีย ( เฟอร์ริกคลอไรด์ ) และกลุ่มเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ บริษัทตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบมาตรฐานสากลและมีฐานลูกค้าชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ กว่า 30 ประเทศ และเป็นผู้สนับสนุนการจัดประกวดในครั้งนี้ โดยมีคุณทยุติ ศรีรุ่งโรจน์ กรรมการผู้จัดการ เป็นประธานปิดงาน

การแข่งรอบชิงชนะเลิศจัดขึ้น ณ.ห้องประประชุม ศูนย์ประชุมไบเทคบางนา ซึ่งได้ทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาในรอบชิงชนะเลิศจำนวน 10 ทีม จากการคัดเลือกกว่า 30 ทีม ทั่วประเทศ และผลงานที่ได้รางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม ACC GO GREEN SEASON ได้แก่ ชื่อผลงานเครื่องช่วยปลูกต้นไม้อัจฉริยะ (สมาร์ทฟาร์มเมอร์) เป็นการสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันในการให้ปุ๋ยให้น้ำ และตรวจอุณหภูมิภายในโรงเรือนได้ จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมด้วยโล่รางวัล เกียติรบัตรและเหรียญที่ระลึก

รองชนะเลิศ ชื่อผลงานการผลิตไฟฟ้าจากน้ำฝน ซึ่งเป็นการแปลงพลังน้ำจากการสั่นของแผ่นเพียโซอิเล็กทริกจากแรงกระแทกของน้ำฝนเป็นพลังงานไฟฟ้า รับรางวัลเงินสด 5,000  บาท เกียติรบัตรและเหรียญที่ระลึก และมีผลงานที่ได้รับรางวัลชมเชย อีก 8 รางวัล รางวัลละ 3,000 บาท พร้อมเกียติรบัตรและเหรียญที่ระลึก ได้แก่ผลงาน เครื่องแปลงกระแสน้ำทิ้งเป็นพลังงานไฟฟ้า โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว, ผลงานอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว, ผลงานโครงงานผลิตน้ำมันจากสาหร่าย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, ผลงานเครื่องแจ้งเตือนควันและน้ำท่วมพร้อมวัดความชื้นในแหล่งชุมชน โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย, ผลงานเครื่องดูดคราบน้ำมันที่ปนเปื้อนในน้ำ โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง, ผลงานเครื่องเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ โรงเรียนแสงทองวิทยา,  ผลงานหุ่นยนต์เก็บขยะ ต้นแบบ โรงเรียน สาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา, และผลงานโมเดล เครื่องฟองอากาศแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

ซึ่งในรอบชิงชนะเลิศไดรับเกียรติจากคณะกรรมการในการตัดสิน 4 ท่าน 1.ดร.เนรัญ สุวรรณโชติช่วง ที่ปรึกษา บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย และประธานโครงการไฮโดรเจนพลังงานทดแทนแห่งอนาคต 2.นางสาวแสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ เป็นผู้พัฒนาเว็บไซต์ JobThai 3.พิไลพร  ลดาวัลย์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ส่วนวิชาการและปฏิบัติการ บริษัท เอเชี่ยน เคมิคัล จำกัด และ 4.นายธนภณ เข็มกลัดทอง ประธานเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน จ.ฉะเชิงเทรา

การดำเนินโครงการครั้งนี้ประสบผลสำเร็จเกินคาดโดยมีวัตถุประสงค์โดยมุ่งแก้ปัญหาพลังงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชนอย่างยั่งยืนและเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและองค์กรในการช่วยกันขับเคลื่อนการใช้พลังงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการสร้างเครือข่ายที่ช่วยขับเคลื่อนโครงการด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้ขยายไปสู่ระดับเยาวชน ชุมชน และในระดับประเทศต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ