โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (CEIS) สนับสนุน “การสร้างความมั่นคงทางอาหาร และอาหารปลอดภัย รวมถึงการสร้างงาน สร้างอาชีพ” ยึกหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง”
โครงการ “ไก่ไข่สายพันธุ์ไฮบริด” บ้านห้วยยาง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ภายใต้โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (CEIS) เล็งเห็นความสำคัญในการการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และอาหารปลอดภัย รวมถึงการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับผู้ที่ต้องการ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน ให้สามารถบรรเทาลงได้บ้างในสังคมนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในงานหลักของโครงการ CEIS
“สำหรับ” โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (CEIS) ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับโรงเรียนบ้านห้วยยางสะอาด ผู้นำชุมชน รวมถึงกลุ่นคนสร้างอาชีพบ้านห้วยยาง ช่วยกันสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่บริเวณพื้นที่ส่วนกลางของโรงเรียน เพื่อให้นักเรียน ชุมชน ได้มีอาหารปลอดภัยไว้กิน
โดยไก่ที่โครงการฯได้ร่วมสนับสนุนในระยะเริ่มต้นคือ “ไก่ไข่สายพันธุ์ไฮบริด” ซึ่งข้อดีคือ
- “ชาวบ้านต้องสามารถดูแลได้” “เลี้ยงเลี้ยงง่าย ไม่ยุ่งยาก”
- มีอัตรารอดสูง แข็งแรง ทนต่อสภาพแวดล้อม
- สามารถออกไข่สม่ำเสมอ เฉลี่ย 280-300 ฟอง/ปี ?
- เป็นที่ต้องการของตลาด
การสนับสนุน และส่งเสริมการเลี้ยงไก่ โครงการฯ เล็งเห็นถึง “การสร้างความมั่นคงทางอาหาร และอาหารปลอดภัย รวมถึงการสร้างงาน สร้างอาชีพ” ยึกหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง”
โดยเริ่มต้นจากการ “สร้างความมั่นคงทางอาหาร” ให้กับกลุ่มคนสร้างอาชีพบ้านห้วยยาง ได้มีไข่กินก่อนจากนั้นจึงเป็นการ “สร้างงาน สร้างอาชีพ” เพราะเมื่อเหลือกินจึงนำไปขาย โดยตลาดที่รับซื้อคือ “โรงเรียนบ้านห้วยยางสะอาด” เมื่อขายได้จึงนำเงินมารวบรวมซื้อหัวอาหารเลี้ยงไก่ต่อไป ส่วนโรงเรียนผู้ให้พื้นที่ส่วนกลาง ก็จะได้พื้นที่สร้างการเรียนรู้ในการเลี้ยงไก่ไข่ให้เด็ก ๆ นอกจากนี้ นักเรียนยังได้แหล่งอาหารปลอดภัย และซื้อขายกันได้ในราคาในยุติธรรม
ปัจจุบัน กลุ่มคนสร้างอาชีพบ้านห้วยยาง 4 ครัวเรือนมีจับคู่ ผลัดเวรกันมาดูแล โรงเลี้ยง ให้อาหารไก่ คู่ละ 1 อาทิตย์ ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และอาหารปลอดภัย ได้ด้วยตัวเอง และมั่นคงภายในชุมชน
ติดตามข้อมูลข่าวสารของพวกเราชาว D community
Facebook : https://www.facebook.com/GoodforCommunity
You tube : https://www.youtube.com/@dcommunity2023
Website : www.dcommunity.co
ที่มา: โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน