ม.พะเยา ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากลิ้นจี่ ในพื้นที่ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
ม.พะเยา ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากลิ้นจี่ ในพื้นที่ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
กองบริหารงานวิจัยพร้อมด้วยคณะกรรมการ MAI ร่วมติดตาม ชม ช่วย เชียร์ โครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม คณะสหเวชศาสตร์ ลงพื้นที่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอร สวัสดิ์สุข คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์กาญจนุรัตน์ ไมรินทร์ คณะนิติศาสตร์ ได้ติดตามความก้าวหน้าโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 (ชม ช่วย เชียร์) โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลิ้นจี่ ซึ่งมีดร.สุพรรณิการ์ ลดาวัลย์ คณะสหเวชศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ ดำเนินงานในพื้นที่ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะยา ประชาการส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทาการเกษตร ทำนาและทำสวนลิ้นจี่ โดยลิ้นจี่เป็นหนึ่งในสินค้าขึ้นชื่อของตาบลแม่สุก รวมทั้งจังหวัดพะเยาด้วย ซึ่งลิ้นจี่ที่ปลูกตำบลแม่สุกได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เกษตรกรในตาบลแม่สุก ส่วนมากจำหน่ายลิ้นจี่ในรูปผลไม้สดและลิ้นจี่คัดเกรด อย่างไรก็ตามพบว่ามีลิ้นจี่คุณภาพอีกจานวนมากที่ไม่ผ่านการคัดเกรดลิ้นจี่พรีเมี่ยมเกรด AA ซึ่งทำให้ขายได้ราคาต่ำ โดยผลผลิตลิ้นจี่ที่เหลือจากการจาหน่าย เกษตรกรในชุมชนจะนามาทาเป็นผลิตภัณฑ์ลิ้นจี่แปรรูป เช่น คุกกี้ลิ้นจี่ ลิ้นจี่กวน ซึ่งส่วนมากจะเป็นการทำเพื่อบริโภคในครัวเรือน และขายในชุมชนในราคาถูก และเนื่องจากลิ้นจี่จะสามารถเก็บผลผลิตในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนเท่านั้น ทำให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้จากลิ้นจี่เพียง 3-4 เดือนต่อปี และขาดรายได้หลังจากสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวผลผลิต
การส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากลิ้นจี่ เช่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การปรับรูปลักษณ์ที่ทันสมัย สวยงาม จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ลิ้นจี่คุณภาพที่เหลือจากการคัดเกรดลิ้นจี่ พรีเมี่ยมเกรด AA ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ชุมชน และส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้ตลอดปี ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้จัดทำโครงการครั้งนี้ขึ้น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากลิ้นจี่ ได้แก่ คุกกี้ลิ้นจี่ ชาลิ้นจี่ เป็นต้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ลิ้นจี่คุณภาพที่เหลือจากการคัดเกรดลิ้นจี่พรีเมี่ยมเกรด และนำเข้าสู่เส้นทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อไป
ที่มา: มหาวิทยาลัยพะเยา