เริ่มจากศูนย์ สู่ธุรกิจร้อยล้าน! ใน 5 ปี ‘บอย ธีรวัฒน์’ สร้างตัวจากวงการโลจิสติกส์

เริ่มจากศูนย์ สู่ธุรกิจร้อยล้าน! ใน 5 ปี ‘บอย ธีรวัฒน์’ สร้างตัวจากวงการโลจิสติกส์

วิศวกรรมโลจิสติกส์ หลักสูตรมาแรงที่ต้องเรียน! เพราะเป็นหนึ่งในธุรกิจทำเงินที่ต้องจับตาแห่งปี 2022 ที่ไม่ว่าจะอุตสาหกรรมไหน ๆ ก็ต้องพึ่งพาการขนส่งหรือขนถ่ายสินค้ากันทั้งนั้น ทำให้ตลาดโลจิสติกส์ไทยในช่วงเดือน ม.ค. – ก.ค. มีต่างชาติเข้ามาลงทุนสูงถึง 4,805 ล้านบาท โดยธุรกิจการขนส่งและขนถ่ายสินค้ารวมถึงคนโดยสาร มีสัดส่วนสูงที่สุด 52.7% (ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

บทความนี้ จะพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับหนุ่มที่สร้างตัวจากธุรกิจด้านโลจิสติกส์ ผู้ผลิตและให้บริการระบบขนถ่ายสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ที่ไม่มีต้นทุนในชีวิต เริ่มต้นธุรกิจจากศูนย์ แต่ใช้ระยะเวลาเพียง 5 ปี ในการสร้างรายได้ร้อยล้านบาท “บอย – ธีรวัฒน์ เจริญกลาง” เจ้าของบริษัท เอ็นพีที ไวร์เบลท์ จำกัด และ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

  • อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ เริ่มอย่างไร?

ประเมินความพร้อมและความสามารถตัวเราก่อน เช่น ทักษะ เงินลงทุน การยอมรับความเสี่ยง รวมถึงกลยุทธ์การตลาดที่เป็นเส้นเลือดสำคัญในการขับเคลื่อนเม็ดเงินให้กับธุรกิจ ผมเริ่มทุกอย่างจากศูนย์ เนื่องจากที่บ้านไม่ได้มีฐานะมากนัก จึงต้องเรียนไปทำงานไปกว่าจะจบ ปวส. ก็อายุประมาณ 22-23 ปี หลังจากนั้นก็ลองผิดลองถูกไปเรื่อย ๆ จนมาถึงช่วงอายุ 27 ปี ผมตัดสินใจเริ่มหาช่องทางทำธุรกิจ ..ไม่มีต้นทุนก็ย่อมช้ากว่าคนอื่น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำไม่สำเร็จ.. ผมมีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทแห่งหนึ่ง เขาเป็นผู้นำเข้าสายพานที่ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิต จึงเล็งเห็นว่ายังมีสายพานอีกมากมายที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด ก็เลยเกิดไอเดียที่จะทำสายพานสแตนเลสที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากกว่า ตอนที่ขายได้เส้นแรกผมดีใจมากเพราะเราไม่เคยทำธุรกิจมาก่อน จนปัจจุบันผมได้ดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อ เอ็นพีที ไวร์เบลท์ มาเป็นเวลา 5 ปีแล้วครับ

  • มองเห็นอะไร ทำไมถึงทำธุรกิจระบบขนถ่าย

อุตสาหกรรมการผลิตมีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้าไปตามเทคโนโลยี ซึ่งแน่นอนว่าผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิตของธุรกิจตนเองให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ตั้งแต่ขั้นตอนการนำวัสดุมายังโรงงาน จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป แน่นอนว่าจำเป็นต้องมีการเคลื่อนที่ มีการขนย้าย อย่างเช่น คลังสินค้า บางที่ใช้แรงงานคนยกก็เปลี่ยนมาใช้เครื่องลำเลียงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนย้ายแทน

  • “เอ็นพีที ไวร์เบลท์” ทำอะไรบ้าง

บทบาทของเราคือการพัฒนาระบบขนถ่ายและเครื่องลำเลียงสินค้าที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต เป็นตัวกลางที่ช่วยซัพพอร์ตกระบวนการผลิตสินค้าในโรงงานให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สายพานสแตนเลส เครื่องลำเลียง สายพาน PVC และ PU ผมให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือเรื่องราคา ในเมื่อเราหาวัตถุดิบได้ในราคาที่เหมาะสม ควบคุมการผลิตได้ จึงจำหน่ายได้ในราคาที่ไม่แพงแถมคุณภาพดี  

  • อุตสาหกรรมการผลิต 3 อันดับที่ทำเงินดีที่สุด 

อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ทำเงินให้กับบริษัทของผมมากที่สุดเป็นอันดับ 1 เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต โรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่มจึงมีความต้องการใช้เทคโนโลยีในด้านการลำเลียง เช่น ลำเลียงอาหารเข้าตู้อบ รองลงมาคืออุตสาหกรรมยานยนต์ มีความต้องการชิ้นส่วนเหล็ก อะไหล่ อุปกรณ์ที่นำมาประกอบยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่นำชิ้นส่วนไปประกอบวิทยุ

  • ธุรกิจทำเงินร้อยล้าน… ทำไมยังต้องมาเรียน CITE DPU

ผมคือน้ำที่ยังไม่เต็มแก้ว ต้องการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ จึงมองหามหาวิทยาลัยที่ตอบโจทย์ธุรกิจระบบขนถ่ายของผม จึงเลือกมาเรียนที่ CITE DPU หลักสูตรวิศวกรรมโลจิสติกส์ ซึ่งสอนเกี่ยวกับระบบขนถ่าย การออกแบบ การจัดการ Supply Chain การผลิต บรรจุภัณฑ์สินค้า ทุกอย่างล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของผมโดยตรง ผมได้ความรู้เทคโนโลยีและทักษะต่าง ๆ มาต่อยอดธุรกิจของผม

  • ทิศทางอนาคตธุรกิจ

ผมมองว่าต้องขยายธุรกิจเพิ่มกลุ่มลูกค้า เพราะในอุตสาหกรรมการผลิตมีการแข่งขันที่สูงมาก ผู้ประกอบการหรือโรงงานต่าง ๆ มีความต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนาการผลิต ธุรกิจระบบขนถ่ายจึงมีความจำเป็นต่ออุตสาหกรรมการผลิตด้านต่าง ๆ ในอนาคตอย่างแน่นอน

สร้างทักษะการเป็นเจ้าของธุรกิจ เริ่มได้ที่ DPU มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สร้างธุรกิจสร้างมืออาชีพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3KGY6jQ สนใจสมัครเรียนได้ที่ https://bit.ly/3q1PZ84 

แหล่งที่มา :http://www.nptwirebelts.com/ http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/tpso_logistics_phase_2_infographic-jul-2022_.pdf

ที่มา: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ