การรู้หนังสือเป็นการให้อิสรภาพกับเด็กๆ สู่อิสรภาพจากความไม่รู้ มูลนิธิเด็กโสสะฯ สนับสนุนให้เด็กทุกคนควรอ่านออกเขียนได้
เมื่อเด็กๆ ได้รับโอกาสในการเข้าถึงความรู้พื้นฐาน สามารถอ่านออกและเขียนได้ จะช่วยให้พวกเขาสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเสรีและมีชีวิตที่สมบูรณ์ขึ้น ควรอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามส่งเสริม และตระหนักถึงความจำเป็นให้เด็กได้รู้หนังสือเพื่ออนาคตของเด็ก และเพื่อลดปัญหาความไม่รู้หนังสือของประชากรในประเทศ
วันที่ 8 กันยายน ของทุกปีเป็น “วันรู้หนังสือสากล” (International Literacy Day) เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องทำต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งการจะเข้าสู่การเรียนรู้ได้ กุญแจดอกสำคัญคือ “การรู้หนังสือ” หรือการอ่านออกเขียนได้ และกุญแจสำคัญดอกนี้ควรพยายามหยิบยื่นให้ตั้งแต่ในวัยเด็ก มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ตระหนักเสมอว่า เด็กทุกคนมีความสามารถมากพอที่จะเรียนรู้ เราเองต้องเป็นผู้ก่อรากสร้างฐานให้พวกเขามีโอกาสเข้าถึงความรู้ต่างๆ และในขณะเดียวกันเด็กควรมีความมั่นคงเชิงอารมณ์ จิตใจ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เหล่านี้จะเป็นต้นทุนให้เด็กๆ เติบโตได้อย่างมีภูมิคุ้มกันต่อไป เด็กๆ ในมูลนิธิเด็กโสสะฯ จะได้รับการเรียนการศึกษาที่เหมาะสมตามช่วงวัย และสูงสุดตามความสามารถ
Literacy กับพัฒนาความสามารถทางภาษาและการรู้หนังสือของแต่ละช่วงวัย
การเรียนรู้ในช่วงปฐมวัย – ประถมศึกษาตอนต้น เป็นช่วงสำคัญที่ต้องพยายามส่งเสริมสนับให้เกิดการอ่านออกและเขียนได้
- การเรียนรู้ในช่วงประถมศึกษาตอนปลาย – มัธยมศึกษา เป็นช่วงพัฒนาทักษะ ความสามารถในการอ่อนออกเขียนได้ให้ดียิ่งๆ ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ต่อๆ ไป
- การเรียนรู้ในช่วงประถมศึกษาตอนปลาย – มัธยมศึกษา เป็นช่วงพัฒนาทักษะ ความสามารถในการอ่อนออกเขียนได้ให้ดียิ่งๆ ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ต่อๆ ไป
ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลสร้างสรรค์ทางการศึกษาจาก TEACHERS as LEARNERS โครงการการพัฒนาชุมชนครูผู้เรียนรู้ บนฐานนวัตกรรม โดยยังมีข้อมูลเพิ่มเติมความเข้าใจด้วยว่าแต่เดิม Literacy อาจเป็นเรื่องภาษาศาสตร์ หรือการรู้หนังสือ การอ่านออกเขียนได้เพียงเท่านั้น แต่ปัจจุบันคำว่า Literacy ถูกนำไปใช้ในหลายส่วนการเรียนรู้ เช่น Media Literacy หรือการสนับสนุนให้รู้เท่าทันสื่อ ICT Literacy คือการเรียนรู้เท่าทันเทคโนโลยี Information Literacy ความสามารถการรู้สารสนเทศ Health Literacy ความฉลาดทางสุขภาพ โดยการสนับสนุนความรู้ทักษะดังกล่าว อาจต้องเป็นช่วงวัยที่เด็กเติบโตขึ้นมาหน่อย อาจอยู่ในช่วงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายถึงอุดมศึกษา หรือเข้าสู่วัยเยาวชน เหล่านี้ก็จะช่วยเสริมความรู้ให้กับเด็กและเยาวชนมีความรูที่กว้างและรอบด้านสอดรับกับสถานการณ์สังคม สามารถออกไปใช้ชีวิตประกอบอาชีพต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ
หนึ่งในสถานที่สำคัญของหมู่บ้านเด็กโสสะคือ “ห้องสมุด” ในห้องสมุดของหมู่บ้านเด็กฯ จะเต็มไปด้วยหนังสือต่างๆ ที่ทางมูลนิธิฯ จัดหามา และมีผู้บริจาคที่มีจิตเมตตาบริจาคเข้ามาให้กับเด็กๆ เช่น หนังสือนิทาน หนังสือเรียน หนังสือให้ความรู้ประเภทต่างๆ ทำให้ห้องสมุดกลายเป็นสถานที่รวมตัวของเด็กๆ ที่จะเข้ามาอ่านหนังสือ ทำการบ้าน เรียนพิเศษ หรือค้นคว้าหาความรู้
กว่า 50 ปี ที่มูลนิธิเด็กโสสะฯ ก่อตั้งมา มีเด็กกำพร้าที่ขาดโอกาส ได้รับการเลี้ยงดูตั้งแต่วัยแรกเกิดจนเติบโต ได้รับการศึกษา สนับสนุนให้รู้หนังสือ จนสามารถออกไปใช้ชีวิตในสังคมอย่างพึ่งพาตนเองได้ได้อย่างมีความสุขแล้วกว่า 500 คน และปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนอยู่ในความดูแลกว่า 700 คน โดยมีหนึ่งเป้าหมายสำคัญคือการให้การศึกษาส่งเสริมการเรียนรู้เท่าที่ความสามารถมูลนิธิฯ จะให้การสนับสนุนได้ในทุกช่วงวัยของเด็กๆ และเยาวชนที่อยู่ในความดูแล
ร่วมสนับสนุน ในการมอบโอกาสที่สองให้เด็กได้เติบโตในครอบครัวทดแทนอีกครั้ง https://www.sosthailand.org/donate-now
ที่มา: มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์