อบรมหลักสูตร Design Thinking for Innovative at Work (กระบวนการออกแบบความคิดเพื่อสรรสร้างนวัตกรรมในงาน) วันที่ 29 – 30 สิงหาคม 2565 เวลา 9:00-16:00 น.
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital Disruption กำลังเป็นคำที่แพร่หลายอย่างมากในโลกที่ธุรกิจยุคปัจจุบัน หลายธุรกิจให้ความหมายต่อสิ่งนี้ในทางลบ แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมันเป็นแรงลบสำหรับธุรกิจที่เลือกจะเพิกเฉยหรือต่อต้าน แต่คนที่เปิดกว้างและเตรียมพร้อมยอมรับจะพบว่ามันสร้างประโยชน์มหาศาลต่อธุรกิจของพวกเขาในรูปแบบต่างๆ โดยในสภาวะการแข่งขันในยุคปัจจุบันนี้ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บุคลากรในองค์กรถือว่าเป็นทรัพย์สินสำคัญ (Intellectual Capital) และมีความสำคัญอย่างมากในการเป็นผู้ขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารส่วนใหญ่จึงใช้ความพยายามในการพัฒนาให้ตนเอง และพนักงานในสังกัดมีความแตกต่างจากสิ่งที่คนอื่นทำ เป็นแนวคิดที่นอกกรอบจากสิ่งที่เคยชิน
ปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของการต่อสู้ทางธุรกิจ ที่มุ่งเน้นการต่อสู้ทางความคิดโดยแท้จริง องค์กรต่างๆอยากได้บุคลากรที่มีทักษะในทางด้านความคิดสร้างสรรค์จากที่เคยทำในการทำงานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านที่มีประโยชน์ต่อองค์กรและสามารถใช้งานได้จริง โดยถ้าบุคลากรไม่เปลี่ยนแปลงแนวความคิดของตัวเองทั้งจากภายใน และภายนอกย่อมไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจในปัจจุบัน ถ้าองค์กรใดที่สามารถจะมีนักคิดสร้างสรรค์ได้มากเท่าใด ก็เท่ากับว่าสามารถที่จะสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้มากขึ้นเท่านั้น
Design Thinking คือ กระบวนการคิดที่ใช้การทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆอย่างลึกซึ้ง โดยเอาผู้ใช้เป็นศูนย์กลางและนำเอาความคิดสร้างสรรค์ และมุมมองจากคนหลายๆสายมาสร้างไอเดีย แนวทางการแก้ไข และนำเอาแนวทางต่างๆ มาทดสอบและพัฒนา เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์นั้นๆ และใน Workshop นี้ได้นำกระบวนการนี้มาพัฒนาโดยทำให้เราหาวิธีแก้ปัญหาที่เราสงสัยได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยเน้นการลงมือใน 3 แก่น คือ เข้าใจสิ่งที่กำลังจะทำและตั้งสมมติฐาน(Understand) การออกไอเดียเพื่อทำแบบจำลอง(Ideate) และเอาไปทดสอบ(Test)กันคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราจริงๆ โดยการใช้การมองภาพรวมได้ใน 1 หน้ากระดาษ เพื่อสามารถนำไปสู่การหาผลลัพธ์ และนำไปใช้ในงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
- ผู้เข้าอบรมได้ความรู้และความเข้าใจว่า “จุดเริ่มต้นของความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวก”
- ผู้เข้าอบรมได้ความรู้และความเข้าใจในเรื่อง “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์”
- ผู้เข้าอบรมได้ฝึกฝนเทคนิคแนวคิดเชิงนวัตกรรม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้
วิทยากร : ดร.วีรินยาอร เหลืองบริบูรณ์
วิทยากรและที่ปรึกษาด้านการจัดการนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาองค์กรให้กับภาครัฐ และเอกชน
ประสบการณ์และผลงาน ผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ผู้บริหารสายงานส่งเสริมนวัตกรรม และพัฒนาองค์กร ผู้เขียนหนังสือ #Easyinnovation in Practice และ Spark up Thinking Card
เหมาะสำหรับ
- Supervisor
- Manager
ค่าธรรมเนียม
ท่านละ (ก่อน VAT 7%) | 8,500 บาท |
ท่านละ (รวม VAT 7%) | 9,095 บาท |
หมายเหตุ : สมาชิกลด 5% |
หัวข้อ
Day 1
Topic 01 : Collaboration Mindset
- เรียนรู้กรอบแนวคิดสำคัญที่สร้างให้เกิดนวัตกรรม และส่งเสริมหลักคิดแบบ Design Thinking
Topic 02 : #EasyInnovation Model
- เรียนรู้ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “นวัตกรรม – Innovation” เพื่อเป็นกระดุมเม็ดแรกที่สำคัญในการสร้างให้เกิดคุณค่าใหม่ (Value Added)
Topic 03 : 3 Core Concept of Design thinking
- สรุปการเรียนรู้ Easy Design Thinking เพื่อให้เข้าใจแก่นของกระบวนการ
Topic 04 : แก่น Design Thinking 1 > Understand by Heart
- เรียนรู้การ Empathy & Define เพื่อหาปัญหาที่แท้จริง (Finding The Right Problems)
Day 2
Topic 01 : แก่น Design Thinking 1 > Understand by Heart (ต่อ)
- เรียนรู้การ Empathy & Define เพื่อหาปัญหาที่แท้จริง (Finding The Right Problems)
Topic 02 : แก่น Design Thinking 2 > Ideate by Head
- เรียนรู้การ Ideate & Prototype เพื่อให้เปิดโลกการออกไอเดียสร้างสรรค์ที่ต้องการปริมาณมากพอกับคุณภาพ
Topic 03 : แก่น Design Thinking 2 > Ideate by Head
- เรียนรู้การ Ideate & Prototype เพื่อให้เปิดโลกการออกไอเดียสร้างสรรค์ที่ต้องการปริมาณมากพอกับคุณภาพ
Topic 04 : แก่น Design Thinking 3 > Test by Hand
- เรียนรู้การทำ Test แบบต่างๆ ผ่านแก่นความคิดของ Canvas เพื่อให้เกิดการทดลองซ้ำ และกล้าลงมืออย่างไม่กลัวการผิดพลาด
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.ftpi.or.th/event/76758
แผนกบริการฝึกอบรม สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โทร. 02-619-5500 ต่อ 451-456
อีเมล์ : [email protected]
ที่มา: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ