จุฬาฯ ที่ 1 ของไทย TOP 26 สาขาการจัดอันดับมหาวิทยาลัย โดย QS World University Rankings by Subject 2022
ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในสาขาวิชาต่างๆ โดย QS World University Rankings by Subject 2022 ซึ่งประกาศผลในเดือนเมษายน 2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทยเช่นเดียวกับปีที่แล้ว โดยในปีนี้จุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยรวมทั้งสิ้น 26 สาขา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครองอันดับ 1 ของไทยใน 4 กลุ่มสาขา (Broad Subjects) และอันดับ 1 ของไทยใน 26 สาขาย่อย ดังนี้
กลุ่มสาขา Art & Humanities 5 สาขา ได้แก่
- Architecture / Built Environment
- Art & Design
- English Language & Literature
- Linguistics
- Modern Languages
กลุ่มสาขา Engineering & Technology 6 สาขา ได้แก่
- Computer Science & Information Systems
- Engineering – Chemical
- Engineering – Civil & Structural
- Engineering – Electrical & Electronic
- Engineering – Mechanical, Aeronautical & Manufacturing
- Petroleum Engineering
กลุ่มสาขา Natural Sciences 5 สาขา ได้แก่
- Chemistry
- Environmental Sciences
- Geography
- Materials Science
- Physics & Astronomy
กลุ่มสาขา Social Sciences & Management 10 สาขา ได้แก่
- Accounting & Finance
- Business & Management Studies
- Development Studies
- Economics & Econometrics
- Education
- Law
- Politics & International Studies
- Social Policy & Administration
- Sociology
- Sports-related Subjects
ในระดับโลกนั้นปรากฏว่ามี 4 สาขาวิชาของจุฬาฯ ที่ติดอันดับ Top 100 ของโลก ได้แก่
- Performing Arts
- Engineering – Petroleum
- Development Studies
- Social Policy & Administration
7 สาขาวิชาที่ติด Top 150 ของโลก ได้แก่
- Architecture / Built Environment
- Art & Design
- Engineering – Chemical
- Pharmacy & Pharmacology
- Geography
- Politics & International Studies
- Sport-related Subjects (ติดอันดับ 101-130)
6 สาขาวิชาที่ติด Top 200 ของโลก ได้แก่
- English Language & Literature
- Modern Languages
- Chemistry
- Environmental Sciences
- Business & Management Studies
- Law
สำหรับตัวชี้วัดในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS World University Rankings by Subject ประกอบด้วย ชื่อเสียงทางวิชาการ (Academic Reputation) 40-60% ชื่อเสียงจากผู้ว่าจ้างบัณฑิต (Employer Reputation) 10-30% ผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง (Citations per Paper) 7.5-20% และความโดดเด่นทางวิชาการ (H-Index) 7.5-20% โดยในปีนี้เป็นปีแรกที่ QS มีตัวชี้วัดเพิ่มเติมในเกณฑ์ด้านความเป็นนานาชาติ เฉพาะการจัดอันดับกลุ่มสาขาวิชา
ที่มา: ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย