วช. ร่วมกับภาคีเครือข่ายเปิดโอกาสให้เยาวชนไทย ร่วมขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ภายใต้แพลตฟอร์ม Youth In Charge
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ บริษัท อิน เดอะ ลีด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ภายใต้แพลตฟอร์ม Youth In Charge ผนึกกำลังกับภาคีพันธมิตร ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และเครือข่ายสถาบันการศึกษา จัดพิธีลงนามความร่วมมือในการดำเนินการโครงการ Youth APEC : Amplify Your Voices, Amplify Your Ideas, Amplify Your Impact เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้ร่วมเสนอแนวทางการสร้างสังคม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นให้กับพื้นที่ของตน ผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติและหนึ่งในหัวข้อหลักของการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ภายใต้แนวคิด Open. Connect. Balance
โดยภายในงานมีความน่าสนใจ คือมี Workshop แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจระหว่างภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน เกี่ยวกับโครงการ BCG ที่แต่ละองค์กรกำลังขับเคลื่อน รวมไปถึงการแชร์กรณีศึกษา ประเด็นท้าทายในบริบทเชิงพื้นที่ และที่สำคัญยังได้มีการร่วมกันหารือเพื่อเชื่อมโยงประเด็นและแนวทางการเข้ามามีส่วนร่วมของเยาวชน โดยดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ คุณสุวรรณี คำมั่น อดีตรองเลขาธิการสภาพัฒน์ และอดีตเลขานุการ รมต.อว. คุณไปยดา หาญชัยสุขสกุล รองผู้อำนวยการใหญ่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) และคุณอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม Executive Director APEC Business Advisory Council (ABAC) รวมถึงผู้แทน อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 5 ภูมิภาค ได้แก่ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา, อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมหารือ รวมไปถึงหน่วยงานจากภาคเอกชน ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บมจ.เบทาโกร, บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด, กลุ่มผู้นำเยาวชนอาสาสร้างสุข (Youth Can Do), ศูนย์ C ASEAN และเอสซีจี
นอกจากนี้คู่ขนานกันยังมีการเสวนาและระดมสมองของเยาวชนผู้นำการเปลี่ยนแปลงจาก Youth In Charge Leadership Academy โดยมีเครือข่ายข้าราชการในโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ ร่วมเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำกับเยาวชนอีกด้วย สำหรับเยาวชนไทยที่ได้เข้าร่วมโครงการ จะได้รับโอกาสที่ดีในการทำความเข้าใจเรื่องโมเดลเศรษฐกิจ BCG และมีพื้นที่การทำกิจกรรมในวงกว้างขึ้น เพื่อร่วมระดมความคิดเกี่ยวกับประเด็นท้าทาย รวมถึงนำเสนอไอเดียในการขับเคลื่อน BCG ในมิติต่างๆ อาทิ เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว
นอกจากนี้ ยังมีการลงนามความร่วมมือกับเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัด Regional Youth Symposium ที่จัดขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของเยาวชนต่อการพัฒนาพื้นที่ของตนอย่างสมดุล (Balanced) ทั่วถึง (Inclusive) และยั่งยืน (Sustainable)
โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยาน”การที่เยาวชนได้มีพื้นที่และโอกาสในการระดมความคิด จนสามารถต่อยอดไปเป็นโครงการเพื่อนำเสนอต่อภาคีพันธมิตรต่างๆ นั้น เราเชื่อว่า เสียงของเยาวชน จะสามารถสร้างแรงกระเพื่อมและสะท้อนแนวคิดใหม่ให้ในมุมที่ผู้ใหญ่อาจมองข้ามได้ โดย Youth In Charge เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า การเพิ่มบทบาทของเยาวชนและคาต่างๆ จะเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่ดี ที่ให้เยาวชนจากหลากหลายพื้นเพ พื้นที่ และความสนใจ สามารถเข้ามามีบทบาทนำหรือร่วมนำการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่าง ๆ และเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบต่อการสร้างสังคม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นในอนาคต” เอริกา เมษินทรีย์ ผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์ม Youth In Charge กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิน เดอะ ลีด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด กล่าวทิ้งท้าย
ที่มา: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)