42 Bangkok ชี้เทรนด์การเรียนสุดล้ำปี 2022 “ไม่มีค่าเทอม ไม่มีครู ไม่มีใบปริญญา” ผลิต “โปรแกรมเมอร์หัวกะทิ” ลุยตลาดงานอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย

42 Bangkok ชี้เทรนด์การเรียนสุดล้ำปี 2022 “ไม่มีค่าเทอม ไม่มีครู ไม่มีใบปริญญา” ผลิต “โปรแกรมเมอร์หัวกะทิ” ลุยตลาดงานอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย

42 บางกอก (42 Bangkok) สถาบันโปรแกรมเมอร์ระดับโลก ภายใต้การกำกับดูแลของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ชี้เทรนด์การเรียนการสอนยุคใหม่ปี 2022 “ไม่มีค่าเทอม ไม่มีครู ไม่มีใบปริญญา” และพร้อมเปิดรับผู้เรียนที่สนใจทั้งชาวไทย-ต่างชาติเข้าเรียนแบบออนไซต์ครั้งแรก เน้นปั้นโปรแกรมเมอร์ศักยภาพสูงขับเคลื่อนธุรกิจและอุตสาหกรรมดิจิทัล หลังพบมูลค่าอุตสาหกรรมในภาพรวมมีแนวโน้มสูงถึง 8 แสนล้านบาท โดยมีเงื่อนไขการสมัครและเข้าเรียนใน 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ทดสอบความรู้เพื่อเป็นผู้เรียนตัวจริง 2. ปูพื้นฐานการเขียนโปรแกรม 3. ฝึกงานกับองค์กรชั้นนำ 4. ลงลึกเรื่องการเขียนโปรแกรม 5. ประเมินผลการฝึกงาน 6. จบคอร์สพร้อมเริ่มงาน ทั้งนี้ ผู้เรียนจะได้รับ 2 ทักษะสำคัญที่จำเป็นต่อการทำงานและการเข้าสังคม (Hard Skill & Soft Skill) อาทิ ทักษะด้านอัลกอริทึมและเอไอ การเลือกใช้ภาษาสำหรับเขียนโปรแกรม ความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคคล ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ โดยที่สามารถต่อยอดในสายงานเทคจ็อบส์ (Tech Jobs) ได้ถึง 10 กลุ่ม อาทิ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) วิทยาการข้อมูล (Data Science)

ทั้งนี้ กิจกรรมการเปิดห้องเรียนแบบ On-Site ครั้งแรกของ 42 บางกอก (42 Bangkok) จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 42 บางกอก (42 Bangkok) ได้ที่เบอร์ 02 329 8000 ต่อ 7480 หรือติดต่อความเคลื่อนไหวได้ที่ทางเพจเฟซบุ๊ก www.facebook.com/42Bangkok เว็บไซต์ www.42bangkok.com

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยันต์ เจตนาเสน Director of 42 Bangkok เปิดเผยว่า 42 บางกอก (42 Bangkok) สถาบันโปรแกรมเมอร์ระดับโลก ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้จัดตั้งขึ้นด้วยเล็งเห็นถึงโอกาสและแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลในไทย ผ่านการพัฒนาศักยภาพโปรแกรมเมอร์ร่วมขับเคลื่อนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย (Digital Industry) ที่นับได้ว่ามีรูปแบบการเรียนการสอนยุคใหม่ปี 2022 และพร้อมเปิดรับผู้เรียนที่สนใจทั้งชาวไทยและต่างประเทศแบบออนไซต์ (On-Site) ครั้งแรก ด้วยรูปแบบการเรียนที่ถอดแบบมาจากสถาบันต้นกำเนิด “Ecole 42” กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในลักษณะ “ไม่มีค่าเทอม ไม่มีครู ไม่มีปริญญา” ซึ่งได้รับความสนใจจากโปรแกรมเมอร์ทั่วโลกยื่นสมัครเรียนมากกว่าหนึ่งแสนคนต่อปี นอกจากนี้ ผู้เรียนยังสามารถเลือกช่วงเวลาหรือสถานที่เรียนที่เปิดสอนทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพียงล็อกอิน (Log In) เข้าระบบผ่านไอแมค (iMac)

สำหรับขั้นตอนของการสมัครและรูปแบบการเรียนที่ 42 Bangkok จะแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้ 1. ทดสอบความรู้เพื่อเป็นผู้เรียนตัวจริง (The Piscine) ผ่านการเรียนเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานแบบเข้มข้นภายใน 4 สัปดาห์ พร้อมทดลองแก้โจทย์โดยมีผู้เรียนอื่นร่วมวิเคราะห์ผลงาน 2. ปูพื้นฐานการเขียนโปรแกรม (Basics of Programming) โดยแบ่งการเรียนเป็น Level 1-7 3. ฝึกงานกับองค์กรชั้นนำ (First Internship) เมื่อเรียนครบ 7 เลเวลแล้วต้องฝึกงานกับองค์กร/สถานประกอบการ 4. ลงลึกเรื่องการเขียนโปรแกรม (Mastering Programming) ในสาขาเฉพาะด้านต่างๆ ที่ครอบคลุม Level 8-21 อาทิ ความปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security) เอไอ (AI) เว็บไซต์ (Web) แอปพลิเคชัน (Application) 5. ประเมินผลการฝึกงาน (Final Internship & Part Time) เมื่อถึง Level 14 และผ่านการประเมินการฝึกงานครั้งแรก ก็สามารถฝึกงานเฉพาะทางตามที่เลือกเรียนได้ 6. จบคอร์สพร้อมเริ่มจริง (Reach level 21 or find a job) หลังจากฝึกงานนักเรียนสามารถเลือกที่จะเรียนให้ครบ 21 Level ได้ หรือเลือกที่จะไปทำงานเลยได้

ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะใน 2 ด้านสำคัญคือ 1. ‘Hard Skill’ ทักษะทางวิชาชีพที่จำเป็นต่อการทำงาน อาทิ เรียนรู้พื้นฐานของอัลกอริทึมและเอไอ (Algorithms & AI) จัดการฐานข้อมูล (DB & Data) ฝึกเขียนโปรแกรมระบบ (System Programming) ด้วยภาษาต่างๆ ทั้งภาษาโกหรือโกแลง (Go/ Golang) ภาษาไพทอน (Python) ภาษารูบี (Ruby) ฯลฯ เรียนรู้การประมวลผลข้อมูลแบบขนาน (Parallel computing) ฝึกประสบการณ์กับสถานประกอบการ (Company experience) ตลอดจนเรียนรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) 2. ‘Soft Skill’ ทักษะทางสังคม อาทิ การพูดและการเขียนเพื่อการสื่อสาร (Verbal & written communication) การจัดการ (Organization) การตระหนักรู้/เข้าใจตนเอง (Self-awareness) การทำงานเป็นทีม/การสื่อสารระหว่างบุคคล (Group & Interpersonal) และการประยุกต์ใช้/ความคิดสร้างสรรค์ (Adaptation & Creativity)

อย่างไรก็ดี ทักษะที่ผู้เรียนจะได้รับติดตัวไปในข้างต้นนั้น สามารถต่อยอดในเส้นทางอาชีพได้ถึง 10 สายงาน ได้แก่ เอไอ (AI) ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) โมบายด์ แอปพลิเคชัน (Mobile Application) เกม (Gaming) เน็ตเวิร์กและคลาวด์ (Network & Cloud) คริพโตกราฟี (Cryptography) การเข้าและถอดรหัสข้อมูลที่ปลอดภัยขั้นสูง คอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphic) เว็บไซต์ (Web) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคขั้นสูงหรือวิทยาการข้อมูล (Data Science) และบริหารจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร (System Administration) ทั้งนี้ นับได้ว่าสายงานดังกล่าว เป็นที่ต้องการในกลุ่มธุรกิจและองค์กรชั้นนำจำนวนมาก ที่มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล อาทิ ข้อมูล บริษัท ซีพีเอฟ ไอทีเซ็นเตอร์ จำกัด (CPF IT Center) บริษัท ซีดีจี ซิสเต็มส์ จำกัด (CDG) บริษัท ไลน์แมน วงใน (LINEMAN Wongnai) บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด

ทั้งนี้ จากข้อมูลการคาดการณ์มูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยปี 2565 มีแนวโน้มเติบโตสูงถึง 8 แสนล้านบาท (ข้อมูล: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA), เดือนกันยายน 2564) ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ว่าภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมดิจิทัลมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะและศักยภาพสูงในด้านดิจิทัลจำนวนมาก ขณะที่รายงานอัตราเงินเดือนของพนักงานไทย ปี 2564 (Salary Report 2021) โดย บริษัท จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด (JobsDB) ยังระบุถึงฐานเงินเดือนของสายงานไอที ตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่ หัวหน้างาน ผู้จัดการ และผู้บริหาร เริ่มต้นที่ 23,000 – 105,000 บาท ขณะที่ฐานเงินเดือนในต่างประเทศพบสูงถึง 90,750 – 133,750 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยที่ 2,992,708.13 – 4,412,412.50 บาท (ข้อมูล: ดีมานด์ 10 อาชีพสายไอที (Tech Jobs) ปี 2022 จากซีไอโอ อาเซียน (CIO ASEAN) องค์กรด้านเทคโนโลยีในภูมิภาคอาเซียน, 2564) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยันต์ กล่าวทิ้งท้าย

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รักษาการแทนอธิการบดี สจล. กล่าวเสริมว่า “สำหรับจุดเด่นของการเรียนที่ 42 Bangkok คือ ได้เรียนในเรื่องที่ต้องรู้จริง โดยไม่ต้องเสียเวลาเรียนในรายวิชาที่ไม่จำเป็น อีกทั้งยังสามารถเลือกช่วงเวลาเรียนด้วยตนเองได้ หากมีความตั้งใจที่จะจบการศึกษาในระยะสั้นที่ 1 ปี พร้อมเริ่มทำงานทันทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ซึ่งในปัจจุบันกลุ่มงาน “เทคจ็อบส์” (Tech Jobs) ถือมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจ/องค์กรดิจิทัลเป็นอย่างมาก และยังเป็นที่ยอมรับในสายงานไอทีและคอมพิวเตอร์ทั่วโลก เพราะจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นผลให้ทุกองค์กรทั้งระดับประเทศและสากลต่างปรับตัวสู่การเป็น “องค์กรดิจิทัล” อีกทั้งการดำเนินนโยบายของภาครัฐที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เช่นเดียวกับ สจล. ที่มีแนวทางในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนางานวิจัยใหม่ๆ หรือกระทั่งเปิดสอนในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล อาทิ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL) เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลร่วมขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมในหลากมิติ

นอกจากนี้ ภายในงานเปิดห้องเรียนแบบ On-Site ครั้งแรกยังมีการจัดกิจกรรม “Company Talk Session” เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและโอกาสการต่อยอด Coding ในการดำเนินธุรกิจยุคดิจิทัล นำโดย นายธีรพงษ์ วิชญเรืองรมย์ รองกรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ และ Digital Transformation บริษัท ซีเอฟพี จำกัด (CFP) นายอธิพัชร์ จารุโรจนอนันต์ Assistant General Manager บริษัท Defense Innovation (DFI) บริษัท ซีดีจี ซิสเต็มส์ จำกัด (CDGS) นายภัทราวุธ ซื่อสัตยาศิลป์ Chief Technology Officer (CTO) LINEMAN Wongnai นายอภิชาติ สัจจพงษ์ Client Technology Lead บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด รวมถึง ดร.ปานระพี รพิพันธุ์ นักวิชาการและผู้ประกาศข่าว ที่มาร่วมสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ด้านไอทีและคอมพิวเตอร์ รองศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ กิจกรรมการเปิดห้องเรียนแบบ On-Site ครั้งแรกของสถาบัน 42 บางกอก (42 Bangkok) จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 42 บางกอก (42 Bangkok) ได้ที่เบอร์ 02 329 8000 ต่อ 7480 หรือติดต่อความเคลื่อนไหวได้ที่ทางเพจเฟซบุ๊ก www.facebook.com/42Bangkok เว็บไซต์ www.42bangkok.com

ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ