ภูมิสถาปนิก หนึ่งในสาขาของอาชีพสถาปนิก ที่ DEK สถาปัตย์ต้องรู้จัก!!

ภูมิสถาปนิก หนึ่งในสาขาของอาชีพสถาปนิก ที่ DEK สถาปัตย์ต้องรู้จัก!!

ภูมิสถาปนิก มีที่มาจากคำว่า ภูมิศาสตร์ ผสมกับ สถาปนิก ซึ่งเป็นอีกสาขาหนึ่งของอาชีพสถาปนิก โดยจะมีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบจัดการพื้นที่ภายนอกตัวอาคารหรือบริเวณโดยรอบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะสวนหย่อม จนไปถึงการออกแบบพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างการวางผังเมือง โดยจะทำงานร่วมกับสถาปนิกที่ออกแบบตัวอาคารในโปรเจค

สิ่งที่นักภูมิสถาปนิกให้ความสำคัญ  ต่างจากสถาปนิกทั่วไปคือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง ศึกษาสภาพพื้นที่โดยคำนึงถึงสภาพดิน การระบายของน้ำ ลม สภาพอากาศ และพืชพรรณชนิดต่างๆ ที่จะถูกนำมาจัดลงพื้นที่

งานหลักของภูมิสถาปนิกคือการประเมิน ออกแบบ จัดการ ควบคุม ดูแลพื้นที่บริเวณรอบนอกตัวอาคาร ตามโจทย์ที่ได้รับมา ให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของพื้นที่ ขั้นตอนการทำงานคุยกับผู้ว่าจ้าง สอบถามข้อมูลความต้องการต่างๆ ของผู้ว่าจ้างเข้าสำรวจพื้นที่ หาจุดเด่นจุดด้อยในพื้นที่ ดูว่าจะพัฒนาพื้นที่ไปเป็นอะไรได้บ้างรับผังโครงการ ที่มีเลย์เอาท์พื้นที่ทั้งหมด เพื่อจะได้ทราบพื้นที่ภายนอก ที่เราต้องออกแบบ

ภูมิสถาปนิกจะออกแบบส่วนพื้นที่ภายนอกอาคาร ส่วนสถาปนิกจะพัฒนาในส่วนแบบอาคารตรวจดูความคืบหน้าในสถานที่จริงเมื่อเริ่มก่อสร้าง  ตรวจงาน โดยจะเริ่มจาก Hardscape (เช่น งานเช่นทางเดิน ศาลา กำแพงประดับ บ่อน้ำพุ) และตรวจงาน Soft Scape (งานต้นไม้ไม้พุ่มต่างๆ) แก้งานใหม่ อาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ โดยจะมี shop drawing ออกมาเพื่อแก้ไขงาน ส่วนมากถ้างานยังดำเนินไปไม่ไกลก็จะไม่สามารถแก้ได้

ทักษะที่ควรมีของภูมิสถาปนิก  ทักษะการคิดวิเคราะห์ การออกแบบพื้นที่โดยวิเคราะห์ถึงภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ  ทักษะการสื่อสาร การจับประเด็น จับใจความสำคัญในการสื่อสาร  ทักษะการแก้ปัญหาตัดสินใจ รู้จักและเข้าใจถึงปัญหาของแต่ละพื้นที่ เข้าใจความต้องการของผู้ว่าจ้าง ก่อนตัดสินใจแก้ปัญหา  ทักษะการใช้เครื่องมือเฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมการออกแบบ การเขียนแบบ หรือโปรแกรม Sketch Up 3D Design ที่ช่วยเสนองานให้ลูกค้าเห็นภาพชัดเจนขึ้น

คุณสมบัติที่ควรมีของภูมิสถาปนิก  มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ ชอบและรักในธรรมชาติ เป็นแรงผลักดันให้อยากศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับต้นไม้หรือสภาพแวดล้อม มีความใส่ใจ สามารถมองเห็นปัญหาในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ไม่หยุดหาความรู้ เปิดกว้างและพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ มองภาพรวม แบบ Visualization ที่สามารถมองภาพในหัวได้รอบด้าน ซึ่งเป็นพื้นฐานของนักออกแบบในเกือบทุกๆ สาขา

ในสายงานสถาปัตย์นั้น  เรียกได้ว่าจบมามีงานทำแน่นอน เพราะที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานนั้นคือปัจจัยหลักในชีวิต จึงมีความต้องการที่จะสร้างหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งภูมิสถาปนิกสามารถเลือกทำงานได้ทั้งในบริษัท เป็นเจ้าของกิจการเอง หรือรับงานแบบฟรีแลนซ์ก็ได้

งานหลักของภูมิสถาปนิกจะเน้นไปที่การศึกษาธรรมชาติของพื้นที่ สภาพของพื้นที่ แล้วเลือกออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้จ้าง โดยที่คำนึงถึงความเหมาะสมกับพื้นที่ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะอยู่กับพื้นที่นั้นๆ ไปตลอด ไม่ใช่แค่ปีสองปี ดังนั้นนักภูมิสถาปนิกจึงจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อพื้นที่ที่ตนออกแบบด้วย

ใครที่หลงใหลในศิลปะ วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมอยากสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นสไตล์ของตัวเองต้องที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หลักสูตรที่เน้นการออกแบบ การทดลองเชิงสร้างสรรค์ บนพื้นฐานความแตกต่างของแรงบันดาลใจ เพื่อค้นพบแนวทางของตนเอง อยากรู้จักกันมากกว่านี้

คลิก! arch.spu.ac.th/

สมัครออนไลน์

คลิก : www.spu.ac.th/apply/quota65

cr.ที่มาข้อมูล www.trueplookpanya.com/

ภูมิสถาปนิกคืออะไร? แตกต่างจากอาชีพสถาปนิกยังไง?

มาหาคำตอบเต็มๆ ได้ที่นี่! : bit.ly/3AQJAAZ

ที่มา: มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ