หลักสูตรผู้ประกอบการ เรียนอะไร? ใครควรเรียน?

หลักสูตรผู้ประกอบการ เรียนอะไร? ใครควรเรียน?

คณะบริหารธุรกิจ ทุกคนคงรู้จักแต่ถ้าพูดถึงหลักสูตรผู้ประกอบการล่ะ ทุกคนจะคิดว่ายังไง “เรียนไปทำธุรกิจ” “เรียนไปขายของ” “เรียนไปสร้างอาชีพค้าขาย” ถ้าเราเป็นคนที่ทำงานในองค์กรและอยากไปทำธุรกิจตัวเองควรไปเรียน? เดี๋ยวนี้ยังต้องเรียนปริญญาอยู่เหรอ? เรียนและจะได้อะไรกลับมาบ้าง? เรียนยากป่ะเนี่ยะ? เรียนไม่เรียนต่างกันยังไง? และทำไมต้องสาขาผู้ประกอบการ?

การเข้าใจเรื่องสาขาบริหารแบบเดิมที่เป็นเรื่องการจัดการองค์กรทั่วไปกับการจัดการธุรกิจทั่วไปอาจจะไม่ใช่แล้วในปี 2022 เนื่องจากโลกเปลี่ยนไปมากการมองภาพกว้างเป็นสิ่งดีแต่การที่ต้องมีองค์ความรู้เฉพาะสำหรับการปั้นธุรกิจ การขยายขนาดธุรกิจ การนำนวัตรกรรมมาช่วยแข่งขัน วิธีคิดที่จะไปให้โต มันเปลี่ยนไปเยอะมาก สาขาการจัดการความเป็นผู้ประกอบการเลยมีการแยกออกมาเพื่อตอบทักษะเฉพาะที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการหรือว่าที่ผู้ประกอบการต้องการทักษะ สมรรถนะ และความรู้เฉพาะด้าน ถ้าแยกย่อยสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการออกมาที่เฉพาะทางมากกว่าบริหารธุรกิจทั่วไปคือ

  1. ‘ความคิดแบบผู้ประกอบการ’ ที่เน้นการจัดการความเสี่ยงและความกล้าลงทุนจากโอกาสที่ประเมินได้
  2. ‘เครือข่าย’ เพื่อนในวงการผู้ประกอบการที่จะคอยแลกเปลี่ยนและร่วมสร้าง
  3. ‘การเข้าถึงเทคโนโลยี’ ที่หลายมหาวิทยาลัยมีเครือข่ายนักวิจัยเทคโนโลยี สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และพื้นที่สนับสนุนผู้ประกอบการ รวมถึงโรงงานต้นแบบ
  4. ‘การได้มีพื้นที่ให้ลองผิดลองถูก’ พื้นที่ลองผิดลองถูกเป็นพื้นที่สำหรับผู้ประกอบการ เพราะถ้าไม่มีพื้นที่ให้ล้มก็ไม่มีพื้นที่ให้โต
  5. ‘ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนที่มีประสบการณ์ร่วม มีที่ปรึกษาที่เคยล้มเคยโต’ สำคัญมากเพราะจุดนึงไอเดียแก้ปัญหา สร้างโอกาสมันตัน ต้องหยิบหาแว่นคนที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาวมาลองสวมเผื่อได้ไอเดียเพิ่มไปปรับใช้ แว่นคนที่เป็นผู้ประกอบการมาก่อนจะเห็นจุดดับ จุดดี ไม่สวยงามเหมือนองค์กรขนาดใหญ่ที่ทรัพยากรเหลือเฟือ
  6. ‘ทางด่วนในการปั้นอาชีพ ปั้นธุรกิจ’ ธุรกิจมันคอยไม่ได้ ทางด่วยอาชีพและทางด่วนการเติบโตเลยสำคัญ การมีคนเชื่อมฐานธุรกิจ พาไปเปิดตัวกับคู่ค้า การจัดหาจับคู้ธุรกิจที่จะร่วมสร้างธุรกิจร่วม การมีเทคโนโลยีให้เข้าไปช๊อปหรือเจอคนที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านสินค้าหรือบริการได้เลยนั้นสำคัญ
  7. ‘ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ’ ชื่อเสียงจากสถาบันการศึกษาและจะเป็นตัวนำทางให้เข้าถึงบุคคลที่มีชื่อเสียง การให้โอกาส และการได้รับการการันตีในความสามารถ ซึ่งสำหรับผู้ประกอบการแล้วจำเป็นมากในการคุยกับคู่ค้า เข้าถึงแหล่งทุนในภาครัฐบาลและเอกชน
  8. ‘การเรียนรู้ที่ลำดับความสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ’ ผู้ประกอบการต้องการฐานความรู้ที่ใช้สร้างพื้นฐานและต่อยอดธุรกิจ โดยมีลำดับความเรียนรู้ที่เป็นขั้นตอน เพื่อเพิ่มคิด วางแผน ดำเนินการเป็นขั้นตอนและสร้างระบบและมาตรฐานสำหรับการดำเนินการ เพิ่มความสามารถในการแข่งขับและลดความยุ่งยากในการทำธุรกิจ และเอาเวลาไปคิดสังเคราะห์และสร้างความเติบโต

คราวนี้มาดูว่าใครหรือที่เหมาะกับหลักสูตรความเป็นผู้ประกอบการ อันนี้ต้องดูว่าความเป็นผู้ประกอบการที่สนใจคืออะไร ถ้าต้องการความเป็นผู้ประกอบการที่มีวิธีคิดความเป็นผู้ประกอบการ มีแนวทางเชิงสร้างสรรในการแก้ปัญหา สามารถวิเคราะห์และสร้างระบบในการบริหารจัดการธุรกิจ การจัดสรรทรัพยากรในการขับเคลื่อนธุรกิจ และสามารถวางแผนเพื่อเข้าถึงแหล่งทุน การวางแผนทางการเงินและการขับเคลื่อนทางการตลาดเพื่อสร้างความยั่งยืนได้ ถ้าทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ต้องการสำหรับอาชีพ และโอกาส หลักสูตรการจัดการผู้ประกอบการก็เหมาะถ้าต้องการที่จะเพิ่มโอกาสด้านการเชื่อมต่อด้านเทคโนโลยีกับหน่วยงานวิจัย การสร้างอุปสรรคในการลอกเลียนแบบสินค้า การจัดการสินค้าที่นำเทคโนโลยีมาสร้างมูลค่าเพิ่มและการออกสินค้าใหม่ การใช้เครื่องมือด้านดิจิทัลมาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการและควบคุม ถ้าต้องการองค์ประกอบเหล่านี้ด้วย หลักสูตรการจัดการความเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมก็จะเหมาะดูตัวอย่างหลักสูตรผู้ประกอบการเชิงนวัตรกรรมที่นี่

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีสาขาการจัดการผู้ประกอบการนวัตรกรรม อันนี้ต้องยอมเพราะมหาวิทยาลัยมีสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญาและโรงงานต้นแบบเยอะมากที่พร้อมมาต่อยอดการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตรกรรม เว็บไซต์สาขา: https://gmi.kmutt.ac.th/course/course_detail/5

คุณล่ะคิดว่าเหมาะไม้กับหลักสูตรการจัดการผู้ประกอบการและการจัดการผู้ประกอบการนวัตรกรรม? 

ที่มา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ