สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย จับมือ มหาวิทยาลัยดังจากอินเดีย และไทย จัดหลักสูตรการใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับสื่อสารองค์กร การตลาด และบริหารสื่อดิจิทัล

สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย จับมือ มหาวิทยาลัยดังจากอินเดีย และไทย จัดหลักสูตรการใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับสื่อสารองค์กร การตลาด และบริหารสื่อดิจิทัล

ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย ได้เปิดเผยว่า สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย (PRThailand) ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัย Ajeenkya DY Patil จากประเทศอินเดีย และหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี จัดการฝึกอบรมด้านการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับเพื่อสื่อสารแบรนด์องค์กรและการตลาด ในหลักสูตร “English for Professional Work In Marketing Corporate Branding and Digital Communication” (MCBD) ให้แก่ นักสื่อสารองค์กร นักประชาสัมพันธ์ นักการตลาดและนักบริหารสื่อดิจิทัล และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะ และ ยกระดับความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษเพื่อนำไปใช้สื่อสารตามภารกิจ ให้แก่ ผู้บริหาร บุคลากร ผู้ที่ปฏิบัติงานจริงในสายงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบออนไลน์

ทั้งนี้ สภาพการณ์ในปัจจุบัน องค์กร หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการ มีความต้องการผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ และมีองค์ความรู้เฉพาะทางด้านการสื่อสารในมิติต่างๆ เพื่อเป็นกำลังสำคัญ ในการดำเนินงานขององค์กร ทั้ง 3 องค์กร จึงได้ผนึกกำลังร่วมกัน จัดทำหลักสูตรดังกล่าว เพื่อพัฒนาทักษะและยกระดับความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารองค์กร แบรนด์ และการตลาด เป็นการสร้างศักยภาพและความเป็นมืออาชีพให้ผู้บริหาร และบุคลากรทางด้านการสื่อสาร ตลอดจนผู้ประกอบการ ให้มีความสามารถทางด้านนิเทศศาสตร์ ในการสื่อสารประเด็น เรื่องราวที่สำคัญขององค์กร สำหรับสร้างภาพลักษณ์ การสื่อสารการตลาด แบรนด์ และการใช้สื่อดิจิทัลอย่างมีคุณภาพ ภายในระยะเวลา 13 สัปดาห์ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักประชาสัมพันธ์ สื่อสารองค์กร นักการตลาด นักบริหารสื่อดิจิทัล เจ้าของธุรกิจ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องให้การตอบรับ เป็นอย่างดี

โดยคาดว่า การจัดอบรมครั้งนี้ จะทำให้ผู้ที่เข้าร่วมอบรมตามหลักสูตรและผ่านกิจกรรมดังกล่าว สามารถพัฒนาจากเนื้อหา รูปแบบ ได้ทั้งในด้านวิชาการและด้านวิชาชีพ เพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ องค์กรและบุคลากรทางด้านการสื่อสารอย่างแท้จริง ส่งผลดี ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและภาพลักษณ์ของประเทศไทย ต่อไป

ที่มา: พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ