“Digital Business Planning”
ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดบรรยายพิเศษ Soft Skill โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ด้าน IT (NON DEGREE), RE SKILL- UP SKILL รุ่นที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ณ ห้อง Auditorium อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ คือ คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ (หมู) CEO & Co-Founder บริษัท อุ๊คบี จำกัด – Ookbee และ ผู้บริหารกองทุน 500 TukTuks บรรยายในหัวข้อ “Digital Business Planning”
คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ เล่าว่า ปัจจุบันเรื่องของข้อมูลมีความสำคัญมาก ดังเคยมีคนกล่าวว่า “ข้อมูลคือน้ำมันแห่งศตวรรษที่ 21 และการวิเคราะห์คือเครื่องยนต์สันดาป Information is the oil of the 21th Century and analytics is the combustion engine.” เพราะว่า บริษัทใหญ่ๆ ที่ดังๆ ล้วนเป็นธุรกิจน้ำมัน และมีการนำเอาข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ เช่น บริษัท ปตท. กำทำเรื่องน้ำมัน ส่วนประวัติของเขา เขาเล่าว่า มีไอดอล เป็น IT ชอบเขียนโปรแกรม เขาเรียนจบทางด้านวิศวกรรมการบินมา และต่อปริญญาโททางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ อาชีพเดิม คือ การรับจ้างเขียนโปรแกรม โดยเปิดบริษัทของตัวเองชื่อ IT Work ขึ้นมาเป็นบริษัทแรก โดยรับจ้างเขียนโปรแกรมทั่วไป และลูกค้าหลักก็เป็นคนทั่วไป ไม่ใช่บริษัท ต่อมาตอนที่ iPhone เปิดตัวใหม่ๆ ในปี ค.ศ.2008 ผมก็นำเอาโทรศัพท์ไปถ่ายรูปสาวๆ ที่เขาแต่งตัวสวยๆ แถวสยามสแควร์ โดยให้เขาถือเป็น Back Board แล้วนำรูปเหล่านั้น มาทำ Application ใน 1 นาทีเปลี่ยนรูปสาวๆ ไปได้ 1 คน ได้เงินมา 20,000 กว่าบาท และก็มีคนเข้ามาเรื่อย ๆ นี่เป็นจุดเริ่มของไอเดียเปิดบริษัท ความจริงโดยปกติมีคนถ่ายรูปอยู่แล้ว คือคนที่ทำนิตยสารนั่นเอง ในยุค Thailand 4.0 นี้ ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ยึดหลัก “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศไทยต้องมี Innovation หรือนวัตกรรม ถึงจะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ Thailand 4.0 นั้น เน้นการนำเอาเทคโนโลยีเข้าไปช่วย เช่น Smart Farming ในขณะเดียวกันรัฐบาลชุดนี้ก็หันมาให้การสนับสนุน Startup อย่างเช่น ตอนนี้ ผมเองก็มาทำอุ๊คบี (OokBee) เป็นแอพลิเคชั่นสำหรับคนรักการอ่านหนังสือ OokBee สามารถรองรับการใช้งานได้ทั้งบน iPhone และ iPad และเป็น Startup ชนิดหนึ่ง คำว่า OokBee เป็นคำผวนมากจากคำว่า e-Book มีเงินเข้ามาช่วยร่วม 1,000 ล้านบาท Ookbee เป็นร้านหนังสือดิจิทัลที่มีตลาดใหญ่ที่สุดใน South East Asia เริ่มเปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 มีลูกค้ากว่า 6 ล้านคน มีเพิ่มขึ้น 10,000-20,000 คน ทำซ้ำได้ โตเร็ว คล้ายๆ กับการทำร้านกาแฟ ถ้ามีร้านกาแฟเพิ่มขึ้นเป็น 20 ร้าน ก็แสดงว่าเติบโตขึ้น แต่ก็ทำได้ยาก นี่เป็นธุรกิจโมเดล มีลูกค้าเพิ่มขึ้นวันละ 10,000 คน ถ้าสามารถรับได้ก็แสดงว่าเป็น Startup สำหรับ Ookbee ลูกค้าจ่ายเงินเพียง 199 บาทก็มีหนังสือมาให้อ่าน ตอนนี้ ได้ขยายฐานธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เมื่อสมัยก่อนคนที่ต้องการจะออกแบบบ้าน ต้องซื้อหนังสือ บ้านและสวน มาอ่าน แต่ปัจจุบันไม่มีคนซื้อหนังสือแล้ว ถ้าเราเปิดดูเว็บ Sanook ไทยรัฐ เดลินิวส์ ก็จะเหมือนกัน ไอเดียของผมคือว่า “ต้องการให้คนใช้และคนสร้างเป็นคนๆ เดียวกัน” เช่น Instagram ก็เช่นเดียวกัน ตัวอย่าง Startup อีกอย่างหนึ่งก็คือ Line ความจริง Line เกิดทีหลัง Ookbee อีก และต่อมาผม และคุณเรืองโรจน์ พูนผล (กระทิง) ซึ่งเป็นคนไทยที่เคยไปทำงานอยู่ที่ Google ใน Silicon Valley เราทั้ง 2 คน มีความฝันที่จะสร้าง Silicon Valley ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย จึงได้ร่วมกันก่อตั้งกองทุน 500 Tuk Tuks เพื่อสนับสนุนให้ทุนกับกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีที่เป็น Startup ดูแลบริหารเงินมากกว่า 18,000 ล้าน บริษัท Glab Taxi ก็ไปลงทุนด้วยเหมือนกันเรียกว่า Startup Glab มีคนกดเข้ามาร่วม 5 ล้านครั้ง มีเงินหมุนเวียน 1,000 ล้านบาทต่อวัน มีบริษัทอยู่ร่วม 1,000 บริษัท
Joy ก็เป็น Application อีกอย่างหนึ่งที่สร้างขึ้น มีหนังสือนิยาย มีเพลงให้ฟัง, และสามารถดูทีวีออนไลน์ มีรายได้เข้ามาจากการขายเหรียญ มี App ให้คนอ่านนิยาย พอจะไปตอนต่อไปจะมีโฆษณาเปิดขึ้นมา ตอนแรกให้อ่านฟรี ต่อมาพอพระเอก นางเอก กำลังจะจีบกัน ให้ 6 วินาที ถ้าไม่รอให้จ่าย 300 เหรียญ คิดเป็นเงิน 3 บาท ทำไมให้ดูเยอะ เพราะให้เด็กดูมาก หหรือให้ดูโฆษณา แต่ต้องใช้กุญแจ 5 ดอก ทุกครั้งที่ดูโฆษณา 30 วินาที จะได้ 10 สตางค์ นักเขียนนิยายเก็บเงินได้วันละ 3 บาท ยอดเหรียญที่นักเขียนได้มากที่สุด 5,000 ล้านเหรียญ มีนักเขียน 7 แสนคน ในวันหนึ่งๆ มีนิยายออก 1 หมื่นเรื่อง นี่คือตัวอย่างของโลก Content และนี่เป็น Business Model อีกอย่างหนึ่งที่บรรดาเด็ก ๆ ชอบกันมาก Business Model อีกอย่างหนึ่ง คือ BNK48 เป็น “App และ Idol” น้องปัง ได้เงินมากที่สุด ทำ App ให้กับ Idol และมีคนบริจาค เหมือนการทอดกฐินออนไลน์ ขายบัตร 700-800 ล้านบาท
Facebook เองก็เกิดมาจาก Startup มีผู้ใช้ทั่วโลกมากกว่า 2,000 ล้านคน นับว่าเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตอนนี้ทางรับบาลของสหรัฐอเมริกา ก็เรียกให้ Facebook ไปปรับแก้เรื่องของข่าวเท็จ (Fake News) เมื่อสมัยก่อน Henry Ford ได้ออกโมเดลรถ สีดำ ในปี ค.ศ.1913 คำทำนาย (Prediction) ของเขาคือพลังงานไฟฟ้า เมื่อแบตเตอร์รี่ไม่พอก็ต้องใช้พลังงาน (Engine) คือ น้ำมัน ทำให้ประเทศในแถบตะวันออกกลางร่ำรวยไปตาม ๆ กัน ในปัจจุบัน บริษัท Tesla ขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าซึ่งขายดีที่สุดในอเมริกา Market Cap ใหญ่กว่า Ford และ GM รวมกัน องค์กรในปัจจุบันต้องมีทั้ง Culture, People และ Technology คนเป็นผู้ใช้เทคโนโลยี ส่วนในเรื่องของ Culture ก็สำคัญที่สุดเช่นเดียวกัน เพราะว่า Culture สามารถเอาคนที่มีความแตกต่างกันด้านการศึกษา และด้านอื่นๆ มาอยู่รวมกันได้ การเอาคนต่างกันมากๆ มารวมกันมันทำให้เกิดความอึดอัด แต่พวกเขาต้องออกมาจาก Comfort Zone คนนั้นสามารถเลือกได้ว่าจะเอาคนแบบใด องค์กรต่างๆ ต้องมาแข่งกันในเรื่องคน เพราะว่าคนหรือพนักงานถือว่าเป็นแบรนด์ขององค์กร (Employee Branding) คนทำให้วัฒนธรรมองค์กรเติบโต เช่น การใส่เสื้อแบรนด์ของบริษัท เพื่อชี้นำให้พนักงานเดินตาม พระพุทธเจ้าเป็น Startup ที่เก่งที่สุดในโลก ทำให้พระภิกษุสงฆ์ทั่วโลกสวมใส่ชุดจีวรสีเหลืองสีเดียวกันหมดได้ รวมระยะได้ร่วม 2,500 ปีมาแล้ว
Tik Tok เป็น Application ให้คนเข้ามาถ่ายคลิปวิดีโอเต้น ๆ และอัพโหลดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต เมื่อจะทำอะไรให้มันปรากฏอยู่ในนี้ เช่น “รักของพี่เกิดที่ 7Eleven” มีคนเข้าไปดูถึง 17.8 ล้านครั้ง ต่อมามีคนจีนซื้อเอาไปทำหนัง Series
ส่วนคำว่า Startup ต่างจาก SMEs อย่างไร ผมขอนิยามให้ดังนี้ “ทุก Startup เป็น SMEs แต่ทุก SMEs ไม่ได้เป็น Startup” Startup คือ SMEs ที่มองหาโมเดลในการทำธุรกิจที่สามารถทำซ้ำได้และเติบโตอย่างก้าวกระโดด ดังนั้น หัวใจของ Startup คือ ทำซ้ำได้และเติบโตแบบก้าวกระโดด Startup เป็นมากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก และเป็นธุรกิจที่ถูกออกแบบมาแบบก้าวกระโดด มีวิธีสร้างรายได้ที่สามารถหาเงินแบบทำซ้ได้และขยายตัวอย่างรวดเร็ว Startup นั้นต้องใช้ไอทีเข้าไปช่วย และไอทีกลายเป็นหัวใจสำคัญ จึงทำให้ต้องมีการเปลี่ยนชื่อกระทรวงเป็นกระทรวง ICT มาเป็นกระทรวง Digital Economy (DE) แต่ทุกอย่างก็ยังเหมือนเดิมเพียงเปลี่ยนชื่อเท่านั้น การทำ Startup นั้น ต้องมีศีลธรรม อย่างเช่น Uber ก็ผิดกฎหมายประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยเองก็ยังไม่ยอมรับ เพราะไม่รู้ว่าเอาใครมาขับรถแท็กซี่ ต้องแยกให้ออก ก่อนที่จะมีรถยนต์มันก็มีรถม้ามาก่อน คนขับรถม้าก็ไม่อยากให้มีรถยนต์ เพราะเขาไม่อยากให้รถยนต์เกิด หรือ Take me Tour เป็น Startup คล้ายกับไกด์เถื่อน ใครอยากจะเป็นไกด์ลองเข้าไปดู คือให้เข้า List ขึ้นมา 1 รายการใน Take me Tour และพาไปเที่ยว หรือตัวอย่างเรื่องของ Bitcoin บางประเทศก็ยังไม่ยอมรับ เพียงผิดกฎหมายไม่สำคัญ แต่อย่าให้ผิดศีลธรรมก็แล้วกัน ส่วน SME นั้นเจ้าของธุรกิจเป็นผู้ลงทุนเอง และมีการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป
สรุปท้ายสุด 7 ประเด็นสำคัญที่ทำให้ได้เรียนรู้ในการทำธุรกิจจากคุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ (คุณหมู) Founder OokBee (1). การทำธุรกิจนั้น ควรคำนึงเรื่องที่ถูกศีลธรรมเป็นหลัก “ผู้ชนะไม่เคยโกง, ผู้โกงไม่เคยชนะ (Winners never cheat, Cheaters never win)” (2). การทำธุรกิจใดบ้างที่ไม่มีความเสี่ยง “มีความเสี่ยงใดบ้าง? ที่มีความปลอดภัย (Is there such a thing as a safe bet?)” ดังนั้น การลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยงและปลอดภัยที่สุด คือ การลงทุนด้วยตัวของเราเอง เช่น การออกกำลังกาย ก็เป็นตัวอย่างการลงทุนด้วยตัวเอง (3) ต้องมีการวางแผนอย่างมาก (Dither ,dither, plan ,plan) (4) จะทำสิ่งใดต้องดูยาวๆ มุ่งเน้นการให้ผลในระยะยาว (Focus on the long term) แตลองหัดทำหัดมองสั้นๆ ก้าวนิ่งๆ รู้สั้นๆ และทำให้เร็วขึ้นดูก่อนว่าจะไปรอดหรือไม่? (5) เราสามารถสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้โดยการจับเพียง X% ของตลาด (We can build a successful business by capturing just x% of the market) นั่นคือ การออกไปขายของให้ได้จำนวนมากๆ ให้มองว่า ทุกปัญหา คือ โอกาส ไม่ว่าจะเป็น มาร์ค ซักเคอร์เบิรก์ แห่ง Facebook, อีรอน มัสก์ ผู้ก่อตั้ง PayPal, และสตีฟ จ็อบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Apple ก็ล้วนแล้วแต่เคยประสบปัญหามาแล้วด้วยกันทั้งสิ้น (6) ลดอีโก้ของตัวเองลง อย่าคิดว่า ฉันรู้มากกว่าคนอื่น (I know more than anyone else) บางอย่างเราก็ไม่เก่งเท่าคนอื่น เช่น เรื่องการทำบัญชี เราควรเปิดโอกาสให้คนอื่นทำไป ต้องเชื่อใจเขา และ (7) ต้องมีจินตนาการที่ดี ใช้เวลาให้คุ้มค่า ในท้ายที่สุดเราก็เสียใจมากที่เราไม่ได้ใช้เวลาได้อย่างเต็มที่ (In the end we only regret the chance we didn’t take) และจะมานึกเสียดายเวลาทีหลังว่า ยังไม่ได้ทำประโยชน์อันใด.
บทความ โดย ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์
อาจารย์ที่ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ที่มา: มหาวิทยาลัยศรีปทุม