ม.มหิดล ได้คะแนนรวม (Total Score) ดีที่สุดอันดับ 1 ของไทย รวมทั้งด้านการเรียนการสอน (Teaching) และการวิจัย (Research) จากผลการจัดอันดับ THE World University Rankings 2022

ม.มหิดล ได้คะแนนรวม (Total Score) ดีที่สุดอันดับ 1 ของไทย รวมทั้งด้านการเรียนการสอน (Teaching) และการวิจัย (Research) จากผลการจัดอันดับ THE World University Rankings 2022

เมื่อเร็วๆ นี้สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก Times Higher Education (THE) จากสหราชอาณาจักร จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกต่อเนื่องเป็นปีที่ 18 นับตั้งแต่ปี2004 โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดคุณภาพ 5 ด้าน คือ การเรียนการสอน (Teaching) ร้อยละ 30, การวิจัย (Research) ร้อยละ30, การอ้างอิงงานวิจัย (Citations) ร้อยละ 30, ความเป็นนานาชาติ (International Outlook) ร้อยละ 7.5 และรายได้ทางอุตสาหกรรม (Industry Income) ร้อยละ 2.5

ซึ่งผลจากการจัดอันดับ Times Higher Education World University Rankings 2022 ซึ่งมีมหาวิทยาลัยกว่า 1,600 แห่งจาก 99 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมในการจัดอันดับครั้งนี้ปรากฏว่า มหาวิทยาลัยมหิดลอยู่ในอันดับโลกที่ 601 – 800 ด้วยคะแนนร้อยละ 34.97 ซึ่งเป็นคะแนนรวม (Total Score) ที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย รวมทั้งด้านการเรียนการสอน (Teaching) ด้วยคะแนนร้อยละ 33.5 และวิจัย(Research) ด้วยคะแนนร้อยละ 22.4 (ดูรายละเอียดที่เว็บไซต์ https://www.timeshighereducation.com/news/world-university-rankings-2022-results-announced)

ซึ่งในงาน RUN Talk Online ครั้งที่ 32 ของเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network – RUN) ซึ่ง มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น 1 ใน 8 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมงาน เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมบรรยายพิเศษ เรื่อง “Where Good Ideas Come From” ได้กล่าวถึงหลักในการทำวิจัยสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็น”ประเทศนวัตกรรม” และก้าวขึ้นสู่เวทีโลกได้อย่างภาคภูมิโดยจะต้องประกอบด้วยความคิด (Ideas) การริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) และการทำสิ่งใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเดิม(Innovations) ซึ่ง Ideas ทำให้เกิด Creativity และถ้าจะให้เป็น Innovations ต้องพัฒนาขึ้นไปอีกระดับที่สร้างมูลค่าได้

ที่สำคัญการจะทำให้เกิดความยั่งยืน และเสริมส่งขึ้นไปอีกได้นั้น จะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน (Share Knowledge) ไม่เหมือนกับอาหารที่แบ่งตามจำนวนผู้บริโภคแต่ความรู้ยิ่งได้มารวมกันมากเท่าใด จะยิ่งขยายศักยภาพทางความคิดไปได้กว้างไกลมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับหลักการและแนวคิดของการสร้างเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN) ที่มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางในการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศและภูมิภาคอาเซียน”

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ