ทีเซลส์ จับมือ สกสว. ขับเคลื่อนการขึ้นทะเบียน RTTP สร้างสรรค์งานวิจัยให้เกิดคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์ความเป็นเลิศชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ฝ่ายยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและการลงทุน จับมือร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เตรียมความพร้อมสำหรับการขึ้นทะเบียนเป็น RTTP ครั้งที่ 1 หัวข้อ “การเขียนบทความขอขึ้นทะเบียน RTTP และประสบการณ์จากผู้ผ่านการขึ้นทะเบียน RTTP” ผ่านแพลตฟอร์มประชุมทางไกล Zoom Meeting เมื่อวันพุธที่ 30 มิถุนายน 2564 เวลา 13.00-16.30 น. โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้มีประสบการณ์ผ่านการขึ้นทะเบียน RTTP มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การเขียนบทความขอขึ้นทะเบียน RTTP และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อาทิ ดร.เลอสรร ธนสุกาญจน์ Technology Transfer Consultant, Eliza Stefaniw Advisor for Innovation Ecosystem Development King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT), ดร.พัชราภรณ์ วงษา ผู้อำนวยการโปรแกรมบริหารผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเสริมอาหาร ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ และ ดร.กิตติพงศ์ เจียมวิทยานุกูล ผู้จัดการอาวุโสงานยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและการลงทุน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ดำเนินรายการโดย ว่าที่ร.อ.วฤษฎิ์ อินทร์มา ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและการลงทุน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เตรียมความพร้อมสำหรับการขึ้นทะเบียนเป็น RTTP ครั้งที่ 1 ได้รับความสนใจมีผู้เข้าร่วมฟังทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน สำหรับผู้ที่สนใจต้องการขึ้นทะเบียน RTTP สามารถส่งบทความ (Essay) มาได้ที่ e-mail: [email protected] หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://attp.info/
RTTP ย่อมาจาก Registered Technology Transfer Professional ซึ่งเป็นมาตรฐานรับรองระดับสากลในการประเมินความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของบุคคลในด้าน Knowledge Exchange, Knowledge Transfer หรือ Technology Transfer ผู้ที่จะได้รับการขึ้นทะเบียน RTTP นั้น จะเป็นผู้ที่มีบทบาทในการมีส่วนร่วม มีความคิดสร้างสรรค์ ในการแปรเปลี่ยนองค์ความรู้ หรืองานวิจัยให้เกิดเป็นคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคม และผลงานดังกล่าวนั้น ต้องเป็นที่ประจักษ์และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
ที่มา: ทีเซลส์