พาไป! ส่อง 4 ปี การเรียนวิศวกรรมระบบราง SPU
วันนี้จะขอพาน้องๆDEK64 ส่อง 4 ปีของการเรียนวิศวกรรมระบบรางที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม ว่าแต่ละปีต้องเรียนรู้วิชาสุดเจ๋งอะไรบ้าง? และนี่คือ 7 วิชาสุดเจ๋งที่ต้องพบเจอในสาขาวิศวกรรมระบบราง! ที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ SPU คัดมาแล้ว!
ตอบข้อสงสัย! วิศวกรรมระบบราง ม.ศรีปทุม…เรียนอะไร?
- เพราะความปลอดภัยถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด! แน่นอนว่ายิ่งเทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นตามมาด้วย ดังนั้นการเรียนด้านความปลอดภัยทางวิศวกรรมระบบราง เพื่อให้เราสามารถประเมินความเสี่ยง และความรู้ด้านความปลอดภัยเพื่อผู้โดยสาร บุคลากร และเจ้าหน้าที่ภายในทั้งหมด
- ถึงแม้ระบบและอุปกรณ์ในระบบรางจะออกแบบมาดีมากแค่ไหน แต่ถ้าขาดการบำรุงรักษาที่ดี ก็จะทำให้เกิดปัญหาได้ การเรียนด้านการจัดการการบำรุงรักษาสำหรับระบบราง ที่จะเรียนเกี่ยวกับการประเมินด้านสถิติ MTBF MTTR จนถึงการบริหารจัดการด้วย PM CBM และ TPM จะช่วยให้คงประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของระบบและอุปกรณ์ไว้ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม
- อาณัติสัญญาณเป็นสิ่งที่ช่วยให้การเดินรถให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและปลอดภัย อีกทั้งการปรับเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณมาใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น เช่น ETCS Level 0-3 ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเรียนรู้ระบบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับในระบบรางที่ขยายตัวขึ้นตลอดเวลา
- รางเป็นส่วนที่สัมผัสกับล้อรถไฟอยู่เสมอ ถ้าหากรางอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ก็จะทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือปัญหาในการโดยสารหรือบรรทุกสินค้า การประเมินและตรวจสอบสภาพของรางได้อย่างถูกต้องและทันท่วงทีด้วยเทคนิคและอุปกรณ์ที่ทันสมัยจะทำให้ลดปัญหาได้
- ในการบริหารจัดการสถานีรถไฟ (โดยเฉพาะรถไฟฟ้า) ต้องทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้า (Train Operator: TO) และผู้ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าในศูนย์ควบคุมการเดินรถ (OCC Officer) เป็นเจ้าของพื้นที่ (Land Lord) ที่ต้องดูแลพนักงานขายตั๋ว และผู้ช่วยนายสถานี ดำเนินการบริหารจัดการตั้งแต่การเตรียมสถานี การควบคุมการปฏิบัติงานสถานีตามขั้นตอนปฏิบัติทั้งในสภาวะปกติ และในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อจัดการให้ผู้โดยสารได้รับความปลอดภัยและความสะดวกตลอดเวลาที่ใช้บริการระบบราง
- OCC เป็นศูนย์กลางในการควบคุมด้านการปฏิบัติการเดินรถทั้งหมด ทำหน้าที่ให้บริการขนส่งสาธารณชนด้วยระบบที่ให้ความสะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว เชื่อถือได้ และตรงเวลา โดยเฉพาะความปลอดภัยของผู้โดยสารและพนักงานที่อยู่พื้นที่ปฏิบัติงาน โดยต้องเป็นที่เข้าใจว่านี่เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของพนักงานในห้อง OCC เป็นส่วนงานที่ต้องมีผู้ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง
- เจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้าจะทำหน้าที่ตั้งแต่การตรวจสอบความพร้อมของรถไฟก่อนออกให้บริการ รับคำสั่งการเดินรถจาก OCC ควบคุมรถไฟฟ้าตามระเบียบวิธีปฏิบัติและข้อแนะนำระหว่างการเดินรถ รวมถึงประสานงานกับนายสถานี และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินรถ เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความปลอดภัยและสะดวกสบายตลอดการใช้งาน
ท้าทายเทคโนโลยีความเร็วสูง ด้วยหลักสูตรระบบราง สู่การเป็นวิศวกรระบบรางระดับคุณภาพ
พิเศษกว่าใคร! กู้เรียนกรอ. กยศ. และ Human Capital ก็ได้!
วิศวกรรมระบบราง มหาวิทยาลัยศรีปทุม
สมัครออนไลน์ คลิก : www.spu.ac.th/apply/scholarship64
ที่มา: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Tags :