วิศวะฯ ม.ศรีปทุม ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม “แนวทางการปรับปรุงห้องผ่าตัดความดันลบ สำหรับภาวะฉุกเฉิน” ถูกต่อยอดสู่แนวทางปฎิบัติสำหรับโรงพยาบาล
ปรบมือรัวๆ!! มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอแสดงความยินดีกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่แนวทางการปรับปรุงห้องผ่าตัดความดันลบ สำหรับภาวะฉุกเฉิน ที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ไปร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนา โดยได้เริ่มต้นไว้จากโรงพยาบาลเด็ก และโรงพยาบาลสายบุรี โดยกรมการแพทย์ร่วมกับกองแบบแผน กระทรวงสาธารณะสุข ได้ถูกต่อยอดและกำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ในสังกัดนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อรับมือการระบาดของโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่
โดยที่ผ่านมา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ร่วมกับ กรมการแพทย์ ขยายผลการปรับปรุงห้องผ่าตัดแบบ SPU’s Positive-Negative Pressure Chamber จากโรงพยาบาลเด็ก ในกรุงเทพฯ สู่ท้องถิ่น ผ่านต้นแบบ “ปัตตานีโมเดล” เพื่อเป็นโอกาสการรักษาแก่ ประชาชนในภูมิภาคในวงกว้าง ให้ได้รับการรักษา ในสภาวะ New Normal จากโรคระบาดติดเชื้อ ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ติดตั้งรวดเร็ว และมีคุณภาพอากาศเป็นไปตามมาตรฐาน ระบบอากาศสะอาด ด้วยหลักการกรอง ระบายอากาศ และการควบคุมทิศทางการไหล บนพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกล มีบทบาทอย่างยิ่ง ที่จะช่วยปกป้องคุณหมอ และบุคลากรทางการแพทย์ จากการฟุ้งกระจายของละอองฝอยของเชื้อโรค สู่ภายนอกจากห้องผ่าตัด และป้องกันผู้ป่วยจากเชื้อโรคที่อาจไหลเข้าสู่ห้องผ่าตัด เป็นต้นแบบ ห้องผ่าตัด แบบ Negative Pressure Chamber ปัตตานีโมเดล ที่ โรงพยาบาลสายบุรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์ SPU ขอร่วมเป็นหนึ่งในการช่วยสังคมด้วยการช่วยคุณหมอ ต่อชีวิต อีกหลายๆชีวิต โดยการออกแบบ (ต้นแบบ) ห้องผ่าตัด แบบ Negative Pressure Chamber “เพราะลมหายใจ ไม่ใช่แค่อากาศ”
ที่มา: มหาวิทยาลัยศรีปทุม